วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิ คเครื่องเสียงรถยนต์ เกร็ดความรู้จาก เอพี คาร์ ออดิโอสุราษฎร์ธานี อำเภอบ้านนาเดิม สี่แยกนาเดิมตรงข้ามปั้มใบจาก

ระบบเสียงรถยนต์มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วนหลัก คือ
แหล่งต้นเสียง, การจัดการเสียง, การขยายกำลังเสียง
และตัวทำให้เกิดเสียง ซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยและอุปกรณ์ส่วนควบ
(Accessories) อีกมากมาย เช่น สายและหัวขั้วต่อต่างๆ

แหล่งต้นเสียง (Head Unit)
• เป็นองค์ประกอบหลักและหัวใจของระบบ มีหน้าที่ในกำเนิด
คลื่นเสียงเพลง/เสียงดนตรี ผ่านสื่อประเภทแผ่น (CD) / ตลับ
(TAPE Cassette) /คลื่นอากาศ (Radio)
ปัจจุบันแหล่งต้นเสียงมักรวมการจัดการเสียงและการขยาย
กำลังเสียง พร้อมกับชุดผ่านสัญญาณออก เพื่อนำไปใช้กับการจัดการ
เสียง และ/หรือการขยายกำลังเสียงภายนอก สำหรับการปรับแต่ง
ที่มากลักษณะกว่า รวมถึงกำลังขยายที่มากกว่า
วิทยุซีดีแผ่นเดียว (AM/FM CD Player)
• เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่น
แผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง มีภาคขยายกำลังขับสูง (Hi-Power)
ในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก บางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์
และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้
วิทยุเทปคาสเส็ต (AM/FM Cassette Player)
• เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ
AM/FM และเล่นตลับเทป
คาสเส็ต มีภาคขยาย
กำลังสูงในตัว พร้อมช่อง
ต่อผ่านสัญญาณออก
บางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้

วิทยุซีดี-เทปแบบ 2 ชั้น (2-DIN AM/FM/CD/Cassette Player)
• เครื่องเล่นที่มีความสูงเป็น 2 เท่าจากขนาดปกติ สามารถใช้งาน
เป็นภาครับวิทยุ AM/FM เล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง เล่นตลับเทป
คาสเส็ต มีภาคขยายกำลังสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก
บางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้
วิทยุซีดี/เอ็มพี 3/วินโดว์ไฟล์/เอ็มดี แบบ 2 ชั้น
(2-DIN AM/FM CD/MP3/WMA/MD Player)
• เครื่องเล่นที่มีความสูงเป็น 2 เท่าจากขนาดปกติ สามารถใช้งาน
เป็นภาครับวิทยุ AM/FM เล่นแผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง, แผ่นบีบอัด
MP3, แผ่นบีบอัดไฟล์ WMA เล่นแผ่นดิจิตอลขนาดเล็ก (MDMiniDisc)
มีภาคขยายกำลังสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก
บางรุ่นอาจสามารถควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้า
จากภายนอกได้
วิทยุซีดี/เอ็มพี 3/วินโดว์ไฟล์ แบบแผ่นเดียว
(AM/FM CD/MP3/WMA Player)
• เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่น
แผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง, แผ่นบีบอัด MP3, แผ่นบีบอัดไฟล์ WMA
มีภาคขยายกำลังขับสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก
บางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้
วิทยุซีดีแผ่นเดียว พร้อมตัวประมวลเสียง
(AM/FM CD player with AC-PROCESSOR II)
• เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่น
แผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง พร้อมตัวประมวลผลเสียงแบบดิจิตอล
มีภาคขยายกำลังขับสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก
ในบางรุ่นอาจสามารถควบคุมตู้เชนเจอร์ได้ และรับสัญญาณต่อเข้า
จากภายนอกได้
วิทยุซีดี/เอ็มดี แผ่นเดียว (MD/CD Receiver)
• เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่น
แผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง เล่นแผ่นดิจิตอลขนาดเล็ก มีภาคขยาย
กำลังขับสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก บางรุ่นอาจสามารถ
ควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณต่อเข้าจากภายนอกได้
วิทยุซีดี แบบ 3 แผ่น (3D Shuttle Tuner)
• เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่น
แผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง บรรจุได้ครั้งละ 3 แผ่น พร้อมช่องต่อผ่าน
สัญญาณออก บางรุ่นอาจสามารถควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณ
ต่อเข้าจากภายนอกได้
วิทยุซีดี มีฮาร์ดดิสก์ (4 ch Hi-Power CD/Receiver
with Built-in Hard Disk Drive)
• เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่น
แผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง, แผ่นบีบอัด MP3 ทั้งสามารถบันทึกเพลง
เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ภายในเครื่อง และรับข้อมูลจากสื่อบันทึกดิจิตอล
อื่นๆ เช่น Memory Stick มีภาคขยายกำลังสูงในตัว พร้อมช่องต่อ
ผ่านสัญญาณออก บางรุ่นอาจควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณ
ต่อเข้าจากภายนอกได้
วิทยุซีดี/ดีวีดี/วีซีดี แบบแผ่นเดียว
(4 ch Hi-power DVD/VCD/CD Receiver)
• เครื่องเล่นที่สามารถใช้งานเป็นภาครับวิทยุ AM/FM และเล่น
แผ่นซีดีที่เป็นแผ่นเพลง, แผ่นภาพดีวีดี (DVD), แผ่นภาพวีซีดี
(VCD) มีภาคขยายกำลังสูงในตัว พร้อมช่องต่อผ่านสัญญาณออก
ทั้งภาพ/เสียง บางรุ่นอาจสามารถควบคุมตู้เชนเจอร์ และรับสัญญาณ
ต่อเข้าจากภายนอกทั้งภาพ/เสียงได้
ตู้ซีดีเชนเจอร์แบบบรรจุได้ทีละหลายแผ่น
(X-Disc CD Changer)

• เครื่องเล่นซีดีที่สามารถบรรจุแผ่นซีดีได้ครั้งละหลายแผ่น
เช่น 6 แผ่น, 10 แผ่น, 12 แผ่น, 18 แผ่น ควบคุมการทำงาน
ผ่านวิทยุซีดี หรือตัวควบคุมที่แยกอิสระ บางรุ่นมีช่องต่อผ่านสัญญาณ
ดิจิตอลออก


ตัวควบคุมตู้ซีดีพร้อมตัวส่งคลื่นเข้าทาง FM
(CD Changer Controller with FM Modulator)
• ตัวควบคุมตู้ซีดี ที่มีตัวรับ/แสดงผลขนาดกะทัดรัดเพื่อติดตั้งไว้
ในห้องโดยสาร และกล่องผสมคลื่น FM เพื่อการเชื่อมโยงเข้ากับ
วิทยุเทปซีดีในรถยนต์ผ่านทางภาครับวิทยุ FM สามารถกำหนด
ช่องความถี่ที่ต้องการได้
ตู้เอ็มดีเชนเจอร์ (MD Changer)
• เครื่องเล่นแผ่นดิจิตอลขนาดเล็กที่สามารถบรรจุแผ่นซีดีได้
ครั้งละหลายแผ่น ควบคุมการทำงานผ่านวิทยุซีดี หรือตัวควบคุม
ที่แยกอิสระ บางรุ่นมีช่องต่อผ่านสัญญาณดิจิตอลออก
ตู้ดีวีดี/วีซีดี/ซีดีเชนเจอร์แบบบรรจุได้ทีละหลายแผ่น
(X-Disc Multi-DVD/VCD/CD Player)
• เครื่องเล่นซีดีที่สามารถบรรจุแผ่นดีวีดี/วีซีดี/ซีดี ได้ครั้งละ
หลายแผ่น เช่น 6 แผ่น, 10 แผ่น, 12 แผ่น, 18 แผ่น ควบคุม
การทำงานผ่านวิทยุซีดี หรือตัวควบคุมที่แยกอิสระ บางรุ่นมีช่อง
ต่อผ่านสัญญาณดิจิตอลออก
ดิจิตอล คำที่พบกันบ่อย
• คำว่า ดิจิตอล (Digital) เป็นคำที่พบบ่อยสำหรับองค์ประกอบ
แหล่งต้นเสียง เป็นการโยงใยการใช้รูปแบบของรหัสในเรื่องต่างๆ
เช่น การแปลงสัญญาณเสียงอนาล็อกให้ไปอยู่ในรูปแบบสัญญาณ
รหัสดิจิตอล รวมถึงการใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ในการควบคุมการ
ทำงานต่างๆ
ดิจิตอลอาจเทียบได้กับนิ้วมือคน เพราะคนยส่วนใหญ่ใช้นิ้วมือ
ในการนับตัวเลขเป็นพื้นฐาน ก่อนที่จะมีการใช้เครื่องคำนวณ
คำว่าดิจิตอล จึงมาจากความหมายของ ตัวเลขที่สามารถ
ทำความเข้าใจกันได้ง่ายด้วยนิ้วมือ
จากเหตุที่คนมีนิ้วมือ 10 นิ้ว จำนวนนับในระบบหลักสิบ
จึงนิยมใช้ ในแต่ละนิ้วจะใช้นับเป็น หนึ่ง, สอง, สาม, สี่, ห้า, หก,
เจ็ด, แปด, เก้า, และสิบ เมื่อใดที่ต้องการนับเป็น 11 (สิบเอ็ด)
จะต้องใช้ถึง 2 ครั้ง โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นอีก 1 นั้น จะมาจากการ
นับครั้งที่ 2 หรือหมายถึง 10 บวกกับอีก 1 นั่นเอง
การบันทึกสัญญาณดิจิตอลจะเหมือนกับการเขียนตัวเลขลงไปบน
กระดาษแต่ละแผ่น โดยใช้รหัสแทนกลุ่มตัวเลขต่างๆ เพียงแต่ตัวเลข
เหล่านั้นจะถูกถอดรหัสเพื่อนำไปแสดงให้เห็นถึงจำนวนของกระแส
ไฟฟ้าตามรูปแบบอนาล็อก อันเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีขึ้นจากเทปต้นแบบ
ตัวเลขในเทปแบบดิจิตอลในช่วงที่เป็นพัลซ์-ระดับสูงจะถูกสื่อ
ความหมายแทนด้วยจำนวน 1 และระดับต่ำจะสื่อความหมาย
ด้วยจำนวน 0 อย่างในแผ่นซีดี หัวอ่านเลเซอร์จะทำหน้าที่อ่าน
รูปแบบของจำนวนจุดต่างๆ บนแผ่นซีดีออกมา
การเปลี่ยนแปลงจากบริเวณที่เป็นแผ่นเรียบ (ไม่มีการบันทึก)
ไปยังตำแหน่งของจุดหรือบิทที่มีการบันทึก ปรากฏอยู่จะเป็น 1
ส่วนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะเป็น 0
อะไรคือความได้เปรียบของการบันทึกแบบดิจิตอล ?
• คุณสมบัติของการบันทึกเสียงที่ดี จะต้องเหมือนกับคุณสมบัติ
ของต้นแบบทุกประการ การบันทึกเสียงที่ไม่ได้เรื่อง เช่น มีเสียงที่
ไม่ต้องการ มีเสียงดังไม่เพียงพอหรือดังมากไป
เสียงที่มีเพิ่มขึ้นมักเป็นเสียงรบกวนต่างๆ ที่เกิดขึ้นแน่ๆ
อย่าง เสียงฮีส หรือ เสียงฮัม และความพลาดเพี้ยนของสัญญาณ
อันมักปรากฏอยู่ทุกส่วนของเสียง อาจเป็นเสียงที่เหมือนกับว่า
ไม่ราบเรียบหรือมีเสียงดังแครกปรากฏอยู่
สาเหตุอาจเกิดจากความเร็วของเส้นเทป ช้าไปบ้างเร็วไปบ้าง
หรือเกิดอาการวาวและฟลัตเตอร์ผิดปกติ
การบันทึกในแบบดิจิอลจะมีเสียงรบกวนที่ต่ำ ความพลาดเพี้ยน
ของสัญญาณน้อย ไม่มีการแปรเปลี่ยนทางด้านความเร็ว และไม่เกิด
อาการวาวและฟลัตเตอร์
เสียงรบกวนและความเพี้ยนของสัญญาณจะขึ้นอยู่กับมาตรฐาน
ของการบันทึกสัญญาณว่า มีความละเอียดของจำนวนหลักในการนับ
มากน้อยแค่ไหน ส่วนการตอบสนองความถี่ก็จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วน
ของความถี่สุ่ม
หากข้อมูลดิจิตอลเกิดการสูญหายในระหว่างการถ่ายเทหรือ
การบันทึกก็ยังสามารถนำกลับคืนมาได้ โดยใช้กลุ่มรหัสและการ
ถ่ายแบบของข้อมูลจากกลุ่มรหัสใหญ่ เพื่อที่จะทำการละเว้นไม่นับ
รวมเข้าด้วยกัน จึงทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดใดๆ เลย
ถ้าจำนวนหลักในการนับ (Quantization) มีความละเอียดต่ำ
เสียงรบกวนและความเพี้ยนของสัญญาณก็จะเกิดขึ้นสูง การลดจำนวน
หลักในการนับลงไป 1 บิท จะเพิ่มเสียงรบกวนขึ้น 6 เดซิเบล
อัตราส่วนความถี่สุ่ม (Sampling Rate) คืออะไร ?
• ในการบันทึกแบบดิจิตอล อาจเทียบการทำงานได้กับเครื่องวัด
แรงกดอากาศ อัตราส่วนของความถี่สุ่มคือความเร็วขณะที่ใช้วัด
แรงกดอากาศ มีหน่วยเป็นเฮิร์ตซ์ (รอบต่อวินาที) ถ้าเครื่องบันทึก
ได้หนึ่งครั้งในแต่ละวินาที ก็จะได้อัตราส่วนของความถี่สุ่มเป็น
1 เฮิร์ตซ์ หากวัดได้ 100 ครั้งในแต่ละวินาที ก็จะกลายเป็น
อัตราส่วนของความถี่สุ่ม 100 เฮิร์ตซ์
การบันทึกเสียงทั่วไปจะเป็นแบบสเตอริโอ อัตราส่วน
ของความถี่สุ่มก็จะใช้แยกกันในแต่ละแชนแนล เช่น
ในการบันทึกบนแผ่นซีดีมาตรฐานอัตราส่วนความถี่สุ่ม
เป็น 88,200 ครั้งต่อวินาที (88,200 เฮิร์ตซ์)
แต่ในการทำงานจริงจะเป็น 44,100 เฮิร์ตซ์ เพราะ
เป็นอัตราส่วนแต่ละแชนแนล การใช้ความถี่สุ่มที่
รวดเร็วสามารถบันทึกย่านความถี่สูงได้ดี
การบันทึกที่สมบูรณ์โดยใช้หลักของ Nyquist คือ
แต่ละส่วนของคลื่นเสียงจะมีการใช้ความถี่สุ่มซ้ำเป็น
2 ครั้ง ดังนั้นหากท่านพยายามที่จะบันทึกเสียงกับ
ย่านความถี่สูงที่มีค่าเป็นครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับอัตราส่วน
ของความถี่สุ่ม ก็อาจมีผลให้เกิดความผิดพลาดทางเสียง
เช่น เมื่อทำการบันทึกเสียงที่ความถี่ 30,000 เฮิร์ตซ์
โดยใช้อัตราส่วนของความถี่สุ่มเป็น 40,000 เฮิร์ตซ์
ข้อผิดพลาดของเสียงจะมีขึ้นที่ความถี่ 10,000 เฮิร์ตซ์
ที่เรียกกันว่า ข้อผิดพลาดแอบแฝง เพราะเสียงต้นแบบเกิดการ
สูญหายไปและมีข้อผิดพลาดบางประการปรากฏขึ้นในบริเวณนั้น
การหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดแอบแฝงนี้ จะใช้การบันทึกแบบดิจิตอล
กับกระบวนการประมวลผลเป็นตัวบังคับเสียงทุกเสียงให้มีความสูง
มากกว่าครึ่งหนึ่ง โดยนับเทียบกับอัตราส่วนของความถี่สุ่ม และใช้
การเคลื่อนย้ายสัญญาณในขั้นตอนขณะกรองสัญญาณทางดิจิตอล/
อนาล็อก ในการคืนสภาพเสียงที่สมบูรณ์
บิท (Bits) คืออะไร ?
• บิท เป็นส่วนย่อยสุดสำหรับใช้เรียกกลุ่มตัวเลขแบบไบนารี่
(หรือเลขหลักสอง) โดยที่ตัวเลขศูนย์ (0) เป็นเลขตัวหนึ่งในระบบ
ไบนารี่ และหนึ่ง (1) ก็เป็นเลขตัวหนึ่งในระบบไบนารี่เช่นกันในระบบ
ไบนารี่มีเลขเพียง 2 หลักคือ 1 และ 0
ดังนั้นในการเพิ่มจำนวนให้สูงขึ้นจะใช้ หลักหรือตำแหน่ง มาเป็น
ตัวช่วย คุณภาพเสียงของระบบดิจิตอลจะถูกจำกัดด้วยจำนวนของบิท
ที่สามารถรองรับได้
บิทที่มากกว่าอาจหมายถึงความเพี้ยนของสัญาณที่ต่ำและเสียง
รบกวนต่ำกว่า บิทจะใช้เป็นตัวเทียบในการวัดระดับของสัญญาณ
การใช้บิทมากก็ได้รับเสียงที่ดังและให้ความถูกต้องได้สูง
ในสายของดิจิตอล จะไม่มีระบบหลักสิบในการนับจำนวน
เหมือนการนับของมนุษย์ แต่จะใช้จำนวนนับเป็นหลักสองเหมือน
คอมพิวเตอร์ และนี่เป็นการเปรียบเทียบตัวเลขของหลักสิบ
(Decimal) กับหลักสอง (Binary)
0 = 00000000000
1 = 00000000001
3 = 00000000011
7 = 00000000111
15 = 00000001111
23 = 00000010111
836 = 01101000100
1132 = 10001101100
การทำงานของซีดี-ออดิโอ





คอมแพ็กดิสก์ (CD: Compact Disc) ที่ใช้เป็นสื่อซีดี-ออดิโอ
มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดกะทัดรัด เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร
ด้านบนสุดเป็นชั้นพลาสติกป้องกันการขีดข่วนและการกระทบกระทั่ง
ถัดลงมาเป็นชั้นเก็บสัญญาณหรือข้อมูล มีลักษณะเป็นฟิล์ม
อลูมิเนียมบางๆ สามารถสะท้อนแสงได้ดี โดยในชั้นนี้จะประกอบด้วย
พิท (Pit) และ แลนด์ (Land)
ต่อจากนั้นเป็นชั้นโปร่งใส ทำหน้าที่ป้องกันชั้นเก็บข้อมูลและช่วย
ในการรวมแสง ชั้นนี้มีดัชนีหักเห 1.5 หนา 1.2 มิลลิเมตร คือ
เมื่อแสงเลเซอร์มีจุดโฟกัส ก่อนที่จะผ่านชั้นนี้มีขนาดประมาณ
0.8-1.0 มิลลิเมตร
เมื่อผ่านชั้นโปร่งใสแล้วจะลดจุดโฟกัสลงเหลือ
เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.7 ไมโครเมตร การทำเช่นนี้จะสามารถ
ลดความผิดพลาดในการอ่านข้อมูลจากเศษฝุ่นละออง,
รอยขีดข่วน หรือรอยนิ้วมือต่างๆ ที่ปรากฏ
บนแผ่นซีดี ซึ่งหากมีขนาดไม่โตไปกว่า 0.5 มิลลิเมตร ก็ไม่ทำให้เกิด
ความผิดพลาดในการอ่านสัญญาณแผ่นซีดีเพลงสำเร็จที่ใช้กันทุกวันนี้
สามารถเล่นได้เพียงอย่างเดียว
การบันทึกสัญญาณจะทำมาจากโรงงาน ด้วยขั้นตอนการตัดแผ่นให้
เกิดพิทและแลนด์ มีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนและต้องมีความแม่นยำมาก
สัญญาณจะถูกบันทึกเรียงกันเป็นรูปก้นหอยจากใจกลางออกสู่
ขอบนอกของแผ่น โดยแต่ละวงจะอยู่ห่างกัน 1.6 ไมโครเมตร
(1 ไมโครเมตร = เศษ 1 ส่วนล้านเมตร หรือเศษ 1 ส่วน 1,000
มิลลิเมตร) และที่ความกว้างจากขอบในสุดถึงขอบนอกสุด
(ของพื้นที่ที่เก็บสัญญาณ) มีความยาว 33 มิลลิเมตร สามารถ
แยกออกได้ถึง 22,188 แทรค บันทึกข้อมูลได้ 15 พันล้านบิท
(15 x 109 บิท)
ถ้าหากเรานำเอาพื้นที่ในการเก็บสัญญาณที่เป็นรูปก้นหอยออกมา
คลีออกแล้วเยียดเป็นเส้นตรง ก็จะใช้ระยะทางยาวถึง 5.7 กิโลเมตร
ในการบันทึกจากแผ่นต้นแบบลงบนแผ่นซีดีจะเก็บไว้ในลักษณะ
ของตัวเลขโดยการใช้เลขฐานสองซึ่งมี 1 กับ 0 โดยให้ 1 แทนส่วน
ที่มีข้อมูล และ 0 แทนช่องว่าง แผ่นซีดีในปัจจุบันเป็นแบบ 16-24
บิท โดยจะใช้งานในด้านรหัสทางดิจิตอลของเสียงเพลงได้แค่ 14-22
บิท ที่เหลืออีก 2 บิทเป็น Code เอาไว้เพื่อเช็กความผิดพลาด
ในการอ่านข้อมูล
การเล่นกลับในเครื่องเล่นซีดีจะเป็นแบบ D to A โดยหมุนจาก
วงในออกมาสู่วงนอกด้วยความเร็วเริ่มต้น 500 รอบต่อนาที
และค่อยๆ ลดความเร็วลงมาจนถึง 200 รอบต่อนาที
หัวใจหลักของซีดีมีด้วยกัน 4 ส่วน คือ หัวเข็มเลเซอร์ หรือ
ลำแสงเลเซอร์ (Laser Optics), ระบบเซอร์โว, ระบบแก้ไข
ข้อมูลที่ผิดพลาด และ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่แปลง
สัญญาณดิจิตอลไปเป็นอนาล็อก
โครงสร้างของหัวเข็มเลเซอร์จะประกอบไปด้วยแหล่งกำเนิด
ลำแสงเลเซอร์ หรือ เลเซอร์ไดโอด (Laser Diode) เมื่อแสงเลเซอร์
อยู่ในตำแหน่งจุดโฟกัสของเลนส์คอลลิเมเตอร์ (Collimator Lens)
ทำให้ได้ลำแสงเลเซอร์ที่กลายเป็นลำขนาน
เมื่อผ่านเข้าสู่เลนส์วัตถุ (Objective Lens) ซึ่งเป็นเลนส์วัตถุ
ที่มีความยาวโฟกัสที่สั้นกว่า จะบีบลำแสงเลเซอร์ให้มีขนาดจุดโฟกัส
ลดลงมาจนมีค่าประมาณ 0.8-1.0 มิลลิเมตร
เนื่องจากแสงเลเซอร์เป็นแสงที่มีความยาวคลื่นค่าเดียว และ
สามารถควบคุมการทำงานที่ความเร็วสูงได้ จุดโฟกัสจากแสงชนิดนี้
จึงมีความคมชัดมาก และสามารถสร้างจุดโฟกัสขนาดเล็กได้
เหนือคอลลิเมเตอร์เลนส์ขึ้นไปเป็นแม่เหล็กและขดลวดปรับโฟกัส
โดยส่วนนี้จะมีการเชื่อมต่อกับระบบเซอร์โว เพื่อทำการควบคุม
จุดโฟกัสให้ได้ขนาด 1.7 ไมโครเมตร ซึ่งลักษณะหรือวิธีการเซอร์โว
ก็มีอยู่หลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันก็คือใช้เลเซอร์บีมเดียวกับระบบ
หัวอ่าน 3 บีม
บริเวณชั้นเก็บข้อมูลจะประกอบด้วยพิท คือบริเวณที่แสง
ไม่สะท้อนเลย และอีกจุดหนึ่งคือแลนด์ คือบริเวณที่แสงสะท้อนมาก
จะเห็นว่าจุดที่เปลี่ยนจากแลนด์เป็นพิท และพิทเป็นแลนด์ จะได้ค่า
ไบนารี่เป็น 1 ส่วนบริเวณที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะได้ค่าไบนารี่เป็น 0
ลำแสงที่สะท้อนจากแผ่นซีดจะผ่านปริซึ่มได้ครึ่งเดียว และจะ
สะท้อนแสง 50% เข้าสู่โฟโตดีเทคเตอร์ไดโอด ทำให้เกิดสัญญาณ
ดิจิตอลจากการที่เกิดแลนด์และพิทมาทำการ on และ off
ที่โฟโตดีเทคเตอร์ไดโอด
สัญญาณที่ออกจากภาคนี้จะยังเป็นสัญญาณดิจิตอล เราจะมา
ทำการเปลี่ยนเป็นอนาล็อกอีกทีหนึ่ง แล้วจึงจะได้สัญญาณเสียง
ที่มีคุณภาพสูง
การจัดการเสียง (Signal Processor)
• เป็นอุปกรณ์เสริมประสิทธิภาพของคุณภาพเสียงมีหน้าที่ใช้งาน
ที่หลากหลายกันไป อุปกรณ์ในองค์ประกอบนี้สามารถต่อใช้งาน
ร่วมกันได้หลายชิ้น
เช่น ต่อปรีแอมป์เข้าอีควอไลเซอร์และครอสโอเวอร์ หรือต่อ
อีควอไลเซอร์เข้าปรีแอมป์และครอสโอเวอร์ หรือต่ออีควอไลเซอร์
เข้าครอสโอเวอร์และปรีแอมป์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าต้องการวางระบบ
ไว้ในรูปแบบใด โดยมีจุดสังเกตในเรื่องระดับสัญญาณเข้า/ออก
ที่เหมาะสม (Input/Output Level)
ปรีแอมป์ปรับตั้งเสียงได้
(Pre-Amp/Eq/Parametric/Tone/Cross)
• เป็นอุปกรณ์ที่มักมีขนาดความสูงเป็น DIN สามารถติดตั้งไว้
ด้านล่างตัววิทยุซีดี หรือขนาดรูปทรงอื่นตามการออกแบบ
มีคุณลักษณะสำคัญเรื่องการขยายระดับสัญญาณเสียง
และสามารถปรับตั้งเสียงได้จากปุ่มปรับเสียง 3-4 ปุ่ม (โทนคอน-
โทรล), 5-7 ปุ่ม (อีควอไลเซอร์), ปรับความถี่กลางแต่ละปุ่มได้อิสระ
(พาราเมตริค) รวมถึงในบางเครื่องยังมีภาคตัดแบ่งเสียง สำหรับ
ซับวูฟเฟอร์และ/หรือสำหรับชุดกลาง-แหลมหน้าหลัง
ครอสโอเวอร์แบ่งเสียง 2/3/4 ส่วน (Crossover 2/3/4 way)
• เป็นอุปกรณ์ที่อาจมีขนาดความสูงเป็น DIN หรือขนาด Half A4
หรือขนาดอื่นตามการออกแบบ มีคุณลักษณะสำคัญในเรื่องการ
แบ่งส่วนความถี่เสียง เพื่อการจัดระบบเสียงในประเภทต่างๆ เช่น
ไบแอมป์, ไตรแอมป์, ควอดแอมป์ รวมถึงอาจมีคุณลักษณะในตัด
คลื่นซับโซนิค, การปรับเลื่อนระดับเฟสเสียง, การปรับเบสโมโน/
สเตอริโอ หรืออื่นๆ ตามการออกแบบ
กราฟิคอีควอไลเซอร์ (Graphic Equalizer)
• เป็นอุปกรณ์ที่มักมีขนาดประมาณกระดาษ A4 หรือขนาดอื่นๆ
ตามการออกแบบ มีคุณลักษณะสำคัญในเรื่องการปรับตั้งคลื่นความถี่
ในระดับ ออคเตป (15 แบนด์), 1/3 ออคเตป (30 แบนด์),
1/6 ออคเตป (60 แบนด์) โดยสังเกตได้จากจำนวนปุ่มปรับระดับ
เพิ่ม/ลดความถี่ที่ปรากฏบนเครื่อง ซึ่งในการออกแบบอื่นๆ
อาจรวมถึงคุณลักษณะที่เป็นการแบ่งคลื่นเสียง, การตัดคลื่นซับโซนิค,
การปรับเลื่อนระดับเฟสเสียง ตามความเหมาะสม
อิเล็กทรอนิกส์-ครอสโอเวอร์
• ครอสโอเวอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หลักในการแบ่งย่านความถี่
ออกเป็นส่วนๆ จะเป็นกี่ย่านความถี่ก็ตามแต่งานออกแบบ
และมักเรียกรวมกันว่าเป็นครอสโอเวอร์
สำหรับอิเล็กทรอนิกส์-ครอสโอเวอร์นั้นจะทำงานได้โดย
อาศัยแรงดันไฟที่ป้อนเข้าไปในตัวมัน เหมือนเพาเวอร์แอมป์
และถูกต่ออยู่ระหว่างเพาเวอร์แอมป์กับวิทยุซีดี หรือต่อหลังจาก
ปรีแอมป์
ถ้าใช้ครอสโอเวอร์แบบ 2 ทาง ก็จะต้องใช้เพาเวอร์แอมป์ขับเสียง
ย่านสูงหนึ่งเครื่อง (2 แชนแนล) และใช้เพาเวอร์แอมป์ขับเสียง
ย่านต่ำอีกหนึ่งเครื่อง (2 แชนแนล) และเรียกกันว่าเป็นระบบ
ประเภทไบแอมป์
อิเล็กทรอนิกส์-ครอสโอเวอร์ที่ใช้งานในขั้นมืออาชีพจะสามารถ
ปรับจุดตัดความถี่ได้อย่างต่อเนื่อง จากจุดตัดค่าหนึ่งไปยังอีกค่าหนึ่ง
เช่นจาก 50 เฮิร์ตซ์ ถึง 400 เฮิร์ตซ์ ซึ่งในย่านระหว่างนี้เราสามารถ
เปลี่ยนจุดตัดไปได้ตามลำดับ สามารถช่วยแก้ปัญหาในหลายๆ ด้าน
ได้เป็นอย่างดี
การขยายกำลังเสียง (Power Amplifier)
• อุปกรณ์ที่อยู่ในองค์ประกอบการขยายกำลังเสียงนั้น ในปัจจุบัน
มีให้เห็นอยู่ด้วยกัน 2 แบบหลักๆ ได้แก่
ภาคขยายกำลังสูงในวิทยุซีดี
• เป็นอุปกรณ์ย่อยที่ประกอบเอาไว้ในวิทยุซีดี มีรูปลักษณ์
การทำงานที่เป็น”ไอซี”แบบหลายขาต่อ และมีการบริดจ์เพื่อเพิ่ม
กำลังขยายให้สูงขึ้น ปัจจุบันสามารถทำกำลังวัตต์สูงสุดได้ถึง
50-60 วัตต์
เพาเวอร์แอมป์
• เป็นอุปกรณ์เพิ่มกำลังทางเสียงให้เพียงพอต่อความต้องการฟัง
โดยจะมีมาตรวัดกำลังขับที่เป็น RMS จึงให้กำลังทางเสียงที่ครบถ้วน
สมบูรณ์ระดับไฮไฟเดลิตี้ แตกต่างกับภาคขยายกำลังสูงที่มีในวิทยุซีดี
เพราะมักใช้มาตรวัดกำลังขับเป็น Peak
มีลักษณะการออกแบบแตกต่างกันไปเป็น 2 แชนแนล,
4 แชนแนล, 5 แชนแนล, 5.1 แชนแนล, 6 แชนแนล, 7.1 แชนแนล,
8 แชนแนล ตามที่ผู้วางระบบต้องการเลือกใช้งาน
ปัจจุบันมีการออกแบบเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ไบโพล่าร์
เป็นตัวขยาย และใช้หลอดสุญญากาศ และแบบผสมร่วมระหว่าง
หลอดสุญญากาศกับทรานซิสเตอร์ โดยมีการทำงานทั้งคลาส-เอ,
คลาส-เอบี, คลาส-ดี และคลาส-ที ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
ปัจจุบัน เพาเวอร์แอมป์หลายรุ่นหลายยี่ห้อ มีการติดตั้ง
ภาคการจัดการเสียงต่างๆ มาให้ด้วย เช่น มีครอสโอเวอร์ในตัว,
มีตัวปรับตัดคลื่นซับโซนิค, มีตัวปรับเฟสเสียง และมีวงจรป้องกัน
ความเสียหายจนมีเสถียรภาพการทำงานที่เยี่ยมยอด
เพาเวอร์แอมป์ อดีตสู่ปัจจุบัน
• ช่วงต้นทศวรรษที่ 70 หรือประมาณ พ.ศ.2513 ได้เริ่มตระหนัก
แล้วว่า ระบบเสียงรถยนต์นั้นไม่ค่อยมีส่วนใดสอดคล้องกับมาตรฐาน
ระบบเสียงบ้านเลย แม้จะเริ่มมีการพัฒนาในเรื่องลำโพงออกมา
แต่กำลังขยายก็ยังไม่ถึงระดับขั้นไฮไฟเดลิตี้
กระทั่งมีการออกแบบการขยายกำลังเสียงชิ้นแรกออกมา โดยถูก
เรียกว่าตัวเพิ่มเสียง (Booter) โดยบริษัทที่นำเอาเทคโนโลยีนี้
มาเผยแพร่ก็คือ Pioneer และ Craig รวมถึงบริษัทอื่นๆ ก็ได้นำเอา
ตัวเพิ่มเสียงนี้ออกมาจำหน่าย
ตัวเพิ่มเสียงเหล่านี้สามารถต่อเข้าไปได้โดยตรงกับภาคขยาย
3-4 วัตต์ที่มีอยู่ในแหล่งต้นเสียง และได้กำลังขับเพิ่มขึ้นมาเป็น
10 ถึง 20 วัตต์ต่อแชนแนล
สมัยก่อนการเพิ่มกำลังขยายด้วยตัวเพิ่มเสียงที่ว่านี้มีอยู่ด้วยกัน
2 วิธี คือ
1. ต่อวงจรขยายขนาดเล็กๆ 2 วงจรเข้าด้วยกันในลักษณะของ
การเชื่อมสะพานเสียง (หรือการบริดจ์ภาคขยาย) โดยใช้วงจรขยาย
ทั้งสองขับขั้วบวกและขั้วลบของลำโพง ในลำดับที่ตรงกันข้าม
(เฟสตรงข้ามกัน) ทำให้ขนาดของแรงดันที่ออกไปยังลำโพงมีเพิ่มขึ้น
กว่า 2 เท่า และได้กำลังขับตามทฤษฎีเป็น 4 เท่า
ดังนั้นเมื่อนำเอาวงจรขยายขนาด 4-5 วัตต์ มาทำในลักษณะนี้
ก็จะมีกำลังขับขาออกเป็น 16-20 วัตต์
2. วิธีต่อมาจะเกี่ยวข้องกับแหล่งจ่ายกำลังไฟของตัวเพิ่มเสียง
โดยที่ประสิทธิผลของแรงดันในรูปคลื่นซายน์ ถูกนำมาใช้ในการ
คำนวณหากำลังขาออก คือ หาแรงดันที่แกว่งจากจุดยอดถึงยอด
ในวงจรขยาย หารด้วย 2.828
ซึ่งด้วยแบตเตอรี่รถยนต์ที่มีขนาดแรงดัน 12 โวลต์จึงถูกจำกัด
แรงดันแกว่งเอาไว้ที่ 12 โวลต์ ดังนั้นประสิทธิผลของแรงดันจึงมีค่า
ประมาณ 4 โวลต์กว่าๆ กำลังขับที่ออกลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ 4 โอห์ม
จึงมีค่าเท่ากับ 4 วัตต์ ตามสูตร E2/R หรือเท่ากับ (4) 2/4=4วัตต์
วิธีเพิ่มกำลังขับ คือ การทำให้แรงดันของแหล่งจ่ายไฟตรงที่ได้จาก
แบตเตอรี่ 12 โวลต์ให้เพิ่มขึ้น โดยแปลงให้กลายเป็นแรงดันไฟสลับ
ด้วยวงจรกระตุ้นทำหน้าที่เปิด/ปิดทรานซิสเตอร์กระแสสูง
กระบวนการพัลซ์กับไฟตรงเช่นนี้ ทำให้ได้แรงดันในลักษณะ
ของแรงดันไฟสลับ ทำให้สามารถนำไปเพิ่มหรือลดแรงดันได้ด้วย
หม้อแปลง
เมื่อแรงดันไฟสลับนี้ถูกป้อนผ่านหม้อแปลงก็จะถูกแปลงให้มี
ค่าแรงดันเพิ่มขึ้นพร้อมกับเรียงตามลักษณะไฟตรงอีกครั้ง ด้วยวงจร
เรียงกระแส (Rectifier) และวงจรกรอง (Filter) แบบเดียวกัน
กับที่ใช้ในแหล่งจ่ายกำลังไฟของระบบเสียงบ้าน จึงได้แรงดันไฟ
ของแหล่งจ่ายที่มีค่าสูงขึ้น ทำให้ได้กำลังเสียงที่ออกไปสู่ลำโพงสูงขึ้น
ตามไปด้วย
เราตั้งชื่ออุปกรณ์เพิ่มเสียงว่าเพาเวอร์แอมป์ เพราะด้วยกำลัง
ขับที่สูงขึ้นไปกว่าเดิมตามค่าแรงดันไฟที่เพิ่มขึ้น เพาเวอร์แอมป์รุ่น
แรกๆ ของ Pioneer ก็นำเอาเทคนิคการเพิ่มไฟนี้มาใช้ เพื่อให้ได้
กำลังขับออกมา 15-20 วัตต์ต่อแชนแนล โดยมีความถี่ในการ
เปิด/ปิดทรานซิสเตอร์ที่ 400 เฮิร์ตซ์ (หรือ 400 ครั้งต่อวินาที)
เทคโนโลยีอีกชิ้นหนึ่งที่กำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 70 นี้ก็คือ
วงจรขยายกำลังแบบใช้ ไอซี (IC: Integrate circuit) เพราะทำ
ให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดติดตั้งง่ายภายในตัววิทยุเทป ใช้ไอซีเพียง 2 ตัว
ต่อหนึ่งแชนแนลก็ได้กำลังขับออกมา 15-20 วัตต์ นอกจากนั้น
ยังมีการบรรจุภาคชดเชยเสียงร่วมกับภาคขยายเสียงด้วย โดยอาศัย
ผลพวงของเทคโนโลยีไอซีที่ว่านี้
การพลิกโฉมที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อแหล่งจ่ายกำลังไฟหันมาใช้
แบบเปิด/ปิดด้วยค่าตัวเลข และมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น
ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกที่นำเอาเทคโนโลยี่ที่ว่านี้มาใช้ คือ เพาเวอร์แอมป์
ของ a/d/s รุ่น 2001 ที่นำออกสู่ท้องตลาดด้วยแถบความถี่ที่กว้าง
และมีกำลังขับ 50 วัตต์ต่อแชนแนล ซึ่งในช่วงนี้ก็มีบริษัทอีกหลาย
บริษัทที่เอาแนวความคิดใหม่นี้ไปทำการผลิตเพาเวอร์แอมป์รถยนต์
เช่น Audio-Mobile, Linear Power และ Fosgate
เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพการทำงานของเพาเวอร์แอมป์อีกครั้ง
จะพบว่ามีประสิทธิภาพการทำงานแค่ 50% ถ้าให้กำลังที่ 100 วัตต์
จะได้กำลังออกมาเพียง 50 วัตต์ ดังนั้นถ้าต้องการกำลังขับออกที่
ลำโพง 100 วัตต์เต็ม ก็จะต้องใช้เพาเวอร์แอมป์ที่มีกำลังถึง
200 วัตต์
แหล่งกำลังในเพาเวอร์แอมป์จะทำได้ก็ต้องใช้แบบสวิตชิง และถ้า
ภาคจ่ายไฟมีประสิทธิภาพแค่ 70% แสดงว่าทรานซิสเตอร์ที่ทำหน้าที่
เปิด/ปิดจะต้องสามารถรับ/จ่ายกำลังได้เกือบๆ 300 วัตต์ เมื่อแปล
ออกมาเป็นค่ากระแสก็จะสูงถึง 30 แอมแปร์ เมื่อทรานซิสเตอร์และ
หม้อแปลงมีขนาดเล็กเกินไปจึงไม่สามารถทำงานตามที่ต้องการนี้ได้
AudioMobile น่าจะเป็นบริษัทแรกที่ผลิตเพาเวอร์แอมป์ขนาด
กำลังขับ 100 วัตต์ต่อแชนแนลได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้แหล่งจายไฟ
ที่สามารถจ่ายกำลังออกมาได้อย่างต่อเนื่องถึง 600 วัตต์ ความสำเร็จ
ของ AudioMobile ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ
1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้ความถี่ในการเปิด/ปิด
ทรานซิสเตอร์สูงขึ้น (ประมาณ 25-35 กิโลเฮิร์ตซ์)
2. ใช้อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์เพื่อการเปิด/ปิดที่สามารถรับกระแส
ได้สูง
การออกแบบของ AudioMobile จึงให้ประสิทธิภาพการทำงาน
ได้สูงถึง 80% ด้วยการใช้ทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ ที่มีข้อจำกัด
ทางกระแสที่ 80 แอมแปร์
ปัจจุบันเพาเวอร์แอมป์รถยนต์มีความน่าเชื่อถือสูง ให้ประสิทธิภาพ
การทำงานที่ดีกว่าแต่ก่อน ภาคจ่ายไฟก็มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น
ทรานซิสเตอร์มีขนาดใหญ่และเปิด/ปิดได้เร็วขึ้นและกระแสก็สูงขึ้นตาม
มีการนำเอา FET ที่มีขีดจำกัดของกำลังสูงมากมาใช้ เพราะ
FET จะทำหน้าที่เป็นสวิทช์เปิด/ปิดได้ดีกว่าทรานซิสเตอร์แบบ
ไบโพลาร์ สามารถนำกระแสได้ดีกว่า ทั้งสามารถต่อ FET ขนานกัน
ได้หลายๆ ตัว
เช่น ในเพาเวอร์แอมป์ a/d/s ที่มีกำลังขับ 200 วัตต์ต่อแชนแนล
จะใช้ FET ถึง 14 ตัวต่อขนานกัน เพื่อให้สามารถผ่านกระแสได้สูงถึง
100 แอมแปร์ และจ่ายกำลังออกไปได้อย่างต่อเนื่องถึง 800 วัตต์
การใช้กำลังขับสูงๆ จากเพาเวอร์แอมป์ มิได้หมายถึงการฟังดังๆ
เพื่อสนองตัณหาเท่านั้น แต่มันหมายถึงระดับของเสียงที่ลอยตัว
อยู่เหนือเสียงรบกวนใดๆ ทั้งเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมภายนอก
ห้องโดยสาร หรือภายในคลื่นเสียงเอง และให้ระดับขั้นการฟัง
ที่เป็นไฮ-ไฟเดลิตี้ ซึ่งแตกต่างจากภาคขยายในตัววิทยุเทปอย่าง
สิ้นเชิง
ระดับการทำงานของเพาเวอร์แอมป์
• คนทั่วไปมักคิดว่าเพาเวอร์แอมป์จะให้การทำงานเต็ม 100%
เมื่อป้อนสัญญาณเข้าไป แต่ในความจริงเพาเวอร์แอมป์มีการสลาย
กำลัง (ในรูปแบบของความร้อน) และมีความผิดเพี้ยนในระดับ
สัญญาณเสียงเป็น 2 ปัจจัยหลักที่มีผลกับประสิทธิภาพทำงานของ
เพาเวอร์แอมป์
การออกแบบวงจรเพาเวอร์แอมป์จึงต้องเลือกระดับชั้นในการ
ทำงานของเพาเวอร์แอมป์ และแต่ละระดับชั้นนั้นก็มีคุณสมบัติที่เป็น
ประสิทธิภาพเฉพาะตัว
- Class A ถูกกำหนดไว้เพื่อคุณภาพของเสียงที่สูงสุด แต่ด้วย
เหตุที่มันมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมด เพาเวอร์แอมป์
คลาส-เอจึงไร้ประสิทธิผลและร้อนในขณะทำงาน
แม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ทรานซิสเตอร์เอาท์พุท
ก็ยังคงมีกระแสไหลผ่านตัวมันตลอด กระแสที่ไหลผ่านตลอดเวลา
นี้เองที่ทำให้เกิดความร้อนโดยไม่จำเป็น และสูญเสียพลังงานไป
อย่างมาก
เพาเวอร์แอมป์ในยุคหลังๆ จึงมักใช้วงจรคลาส-เอที่เป็นวงจรผสม
ของ Class A/Class AB เพื่อลดปัญหาความร้อน
- Class AB เป็นการออกแบบที่ยอมให้เอาท์พุททรานซิสเตอร์
มีกระแสไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ในระดับต่ำ
มากๆ จึงให้ประสิทธิผลที่มากกว่าคลาส-เอ โดยที่มีความผิดเพี้ยนต่ำ
และมีความน่าเชื่อถือสูง
- Class D เป็นการใช้เอาท์พุทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิตช์
เพื่อควบคุมการป้อนจ่ายกำลัง โดยทรานซิสเตอร์จะหยุดทำงานเมื่อมี
แรงดันไฟปริมาณมากๆ ตกคร่อมอยู่ที่ตัวมัน
วงจรครลาส-ดีจึงให้ประสิทธิผลสูงสุด การทำงานมีความร้อน
ต่ำสุด และให้การไหลของกระแสได้มากกว่าวงจรคลาส-เอบี
เพาเวอร์แอมป์คลาส-ดีจะมีความผิดเพี้ยนสูงกว่าคลาส-เอบี
เนื่องจากการปิด/เปิดอย่างรวดเร็วของทรานซิสเตอร์ แต่ก็มักเกิดขึ้น
ที่ย่านความถี่สูง ดังนั้นโดยปกติมักจะใช้การกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะ
ย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน
- Class T เป็นการใช้การจัดเรียงคลื่นเสียง โดยใช้ข้อเด่นของ
วงจรคลาส-เอบี ผสมเข้ากับประสิทธิภาพทางกำลังที่สูงและการ
ทำงานที่มีความร้อนน้อยของคลาส-ดี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ที
จึงสามารถให้กำลังวัตต์ที่สูงกว่าเป็น 2-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกัน
ในขนาดเท่ากันของเพาเวอร์แอมป์คลาส-เอบี

ตัวทำให้เกิดเสียง (Speaker)
• ตัวทำให้เกิดเสียงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองจากแหล่งต้นเสียง
เพราะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคลื่นต่างๆ จากเพาเวอร์แอมป์ให้
กลายเป็นคลื่นเสียง
ใช้หลักการทำงานที่เป็นเชิงกลที่แปรเปลี่ยนไปตามสัญญาณคลื่น
จากเพาเวอร์แอมป์ เรียกว่า ‘ลำโพง’ และเพราะหลักการทำงานที่เป็น
เชิงกลนี้เอง ทำให้มีการแยกแยะลำโพงออกเป็นหลายส่วนประกอบ
และมีชื่อเรียกขานที่แตกต่างกันออกไป
- ซูเปอร์ทวีตเตอร์ (Super Tweeter) ขับเสียงในย่านความถี่
สูงมากๆ เพื่อแบ่งเบาภาระของทวีตเตอร์ อีกทั้งยังช่วยให้ลำโพงเสียง
แหลมทำหน้าที่ขับเสียงแหลมในย่านนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สูงสุด
การขับเสียงแหลมที่เกินคุณสมบัติเสียงที่เปล่งออกมาจะเกิด
ฮาร์โมนิคมากมาย ทำให้เสียงแตกพร่า ฟังแล้วเกิดความรำคาญ
ลำโพงซูเปอร์ทวีตเตอร์โดยทั่วไป มีรูปร่างเป็นวงกลมขนาดเล็ก
- ทวีตเตอร์ (Tweeter) รับหน้าที่ขับเสียงในย่านความถี่สูง
รองจากซูเปอร์ทวีตเตอร์ โดยทวีตเตอร์ทั่วไปมีขนาดกะทัดรัด
และสามารถออกแบบเป็นกรวยหรือโดมก็ได้ บางรุ่นเป็นแบบริบบอน
หรือแผ่นไดอะแฟรม ขณะที่บางรุ่นก็เป็นฮอร์นขนาดเล็กสำหรับใช้
ในรถยนต์
- มิดเรนจ์ (Midrange) รับหน้าที่ขับเสียงในย่านความถี่
กลางๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-5 นิ้ว
- วูฟเฟอร์ (Woofers) รับหน้าที่ขับเสียงในย่านความถี่ต่ำ
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้วขึ้นไป บางรุ่นทำเป็นรูปวงรี
ขนาดมาตรฐาน 6x9 นิ้ว
- ซับวูฟเฟอร์ (Subwoofers) รับหน้าที่ขับเสียงในย่านความถี่
ต่ำมากๆ ตั้งแต่ 80 เฮิร์ตซ์ ลงไปจนถึงความถี่ต่ำสุด มีขนาดเส้นผ่า
ศูนย์กลางประมาณ 8-18 นิ้ว
ปัจจุบันมีลำโพงหลายรุ่นหลายแบบ ตามแต่ความเหมาะสม
และรูปแบบการนำไปติดตั้งที่สามารถแยกแยะได้ดังนี้
- ลำโพงฟูลเรนจ์ (Full Range) เป็นลำโพงที่สามารถ
ขับเสียงในทุกย่านความถี่ ตั้งแต่ความถี่ต่ำไปจนถึงความถี่สูงในตัวขับ
เพียงตัวเดียว
- ลำโพง 2 ทาง (Two Way) เป็นลำโพงที่ประกอบด้วย
มิดวูฟเฟอร์ 1 ตัว และทวีตเตอร์อีก 1 ตัว มีการตัดแบ่งความถี่แบบ
คร่าวๆ เพื่อป้อนความถี่ที่เหมาะสมให้กับมิดวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์
ลำโพง 2 ทาง มีผู้ผลิตออกจำหน่ายมากมาย บางรุ่นใช้ทวีตเตอร์
วางอยู่บนมิดวูฟเฟอร์ในแนวแกนเดียวกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
โคแอ็คเชียล (Coaxial) โดยแยกวอยซ์คอยล์คนละชุด
- ลำโพง 2 ทางแยกชิ้ (Two Way Component) เป็น
ลำโพงที่ประกอบด้วยมิดวูฟเฟอร์ 1 ตัวและทวีตเตอร์ 1 ตัว แต่มี
ตัวตัดแบ่งความถี่ที่มีประสิทธิภาพสูงแยกเป็นกล่องต่างหาก เพื่อแยก
ป้อนความถี่ที่เหมาะสมให้กับมิดวูฟเฟอร์/ทวีตเตอร์ โดยสามารถแยก
ติดตั้งมิดวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์ในตำแหน่งที่แตกต่างกันได้
- ลำโพง 3 ทาง (Three Way) เป็นลำโพงที่ประกอบด้วย
มิดวูฟเฟอร์ 1 ตัว, มิดเรนจ์ 1 ตัว และทวีตเตอร์ 1 ตัว รวมเป็น
ลำโพงชนิด 3 ทาง แต่ละตัวรับหน้าที่ขับความถี่แยกกัน รุ่นที่ใช้
ทวีตเตอร์/มิดเรนจ์วางอยู่บนตัวมิดวูฟเฟอร์ในแนวแกนเดียวกัน
เรียกว่าไตรแอ็คเชียล (Triaxials)
- ลำโพง 3 ทางแยกชิ้น (Three Way Component)
เป็นลำโพงที่ประกอบด้วยมิดวูฟเฟอร์ 1 ตัว มิดเรนจ์ 1 ตัวและ
ทวีตเตอร์ 1 ตัว แต่มีตัวตัดแบ่งความถี่ที่มีประสิทธิภาพสูงแยกเป็น
กล่องต่างหาก เพื่อแยกป้อนความถี่ที่เหมาะสมให้กับมิดวูฟเฟอร์/
มิดเรนจ์/ทวีตเตอร์ โดยสามารถแยกติดตั้งมิดวูฟเฟอร์, มิดเรนจ์
และทวีตเตอร์ในตำแหน่งที่แตกต่างกันได้
หลากแนวคิดกับการผลิตลำโพง
• เมื่อนึกถึงระบบเสียงในรถยนต์แล้ว ลำโพงดูจะเป็นอุปกรณ์ที่ถูก
ยกย่องหรือถากถางได้ง่าย เพราะเป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่ให้เสียง
ออกมา จึงคล้ายเป็นตัวชี้นำหรือดัชนีชี้วัดคุณภาพเสียงทั้งระบบ
การเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและตัวลำโพงเองจึงเป็นเรื่อง
ที่น่าติดตาม
การออกแบบลำโพงสำหรับการใช้งานในรถยนต์ มักต้องพึ่งพา
เทคโนโลยีขั้นสูงอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้มีน้ำหนักเบาแต่มี
ความแข็งแกร่งพอเพียง และยังต้องทำให้ได้ผลการตอบสนองของ
เสียงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
วัสดุหลากหลายชนิดจึงถูกค้นคิดขึ้นเพื่อนำมาประกอบเป็นลำโพง
รถยนต์ ทั้งแบบซับวูฟเฟอร์, วูฟเฟอร์, มิดเรนจ์ และทวีตเตอร์
วัสดุประเภทไตตาเนียมถูกคิดค้นมาเพื่อใช้กับทวีตเตอร์หรือมิดเรนจ์
เนื่องจากให้เสียงแหลมได้เฉียบคม ทนทานต่อการให้เสียง ติดตั้งง่าย
และไม่เกะกะ
การติดตั้งลำโพงในรถยนต์โดยที่ไม่ใส่ใจอะไรมากมาย มักลงตัว
ที่ลำโพงในแบบโคแอ็คเชียล หรือไตรเอคเชียล เพราะติดตั้งลำโพง
เพียงครั้งเดียว ก็เหมือนกับการติดตั้งลำโพงทั้ง 2 หรือ 3 ประเภทไว้
ด้วยกัน
หมายถึงในช่องลำโพงขนาด 5 หรือ 6 นิ้ว สามารถติดตั้งลำโพง
ทั้งหมดไว้ในช่องเดียวกัน และให้ความสะดวกสบายในการเชื่อมโยง
สายลำโพงที่ทำเพียงครั้งเดียว แต่ความสะดวกสบายเหล่านั้นไม่ได้ให้
ผลดีกับคุณภาพเสียง เพราะตำแหน่งเสียงต่างๆ ถูกบังคับ
ผิดกับการเลือกใช้ลำโพงแบบแยกชิ้น 2 หรือ 3 ทาง ที่สามารถ
กำหนดทิศทางที่มาของแต่ละเสียงได้อิสระ ทำให้โฟกัสรวมของเสียง
ในห้องโดยสารมีผลลัพท์ที่ดีกว่า หากแต่ก็มีความยุ่งยากมากกว่า
เล็กน้อย
นอกจากนี้แล้ว ลำโพงแบบแยกชิ้น 2 หรือ 3 ทาง มีตัวดัดแปลง/
ตกแต่งเสียงหรือครอสโอเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าทำหน้าที่
แบ่งย่านเสียงให้เหมาะสมสำหรับวูฟเฟอร์, มิดวูฟเฟอร์, มิดเรนจ์
และทวีตเตอร์
โดยการเชื่อมต่อสายลำโพงจากครอสโอเวอร์ไปยังมิดวูฟเฟอร์,
มิดเรนจ์ และทวีตเตอร์ ทำให้ได้คุณภาพเสียงที่สมบูรณ์กว่าลำโพง
แบบโคแอ็คเชียลหรือไตรแอ็คเชียล แต่ในรถยนต์บางรุ่นบางยี่ห้อนั้น
การติดตั้งลำโพงแบบโคแอ็คเชียลอาจสามารถทำให้การแผ่กระจาย
ของเสียงครอบคลุมได้ทั้งห้องโดยสาร

แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ลำโพงแบบแยกชิ้นก็สามารถนำมาใช้เพื่อ
ขจัดปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะการแยกตำแหน่งติดตั้งมิดวูฟเฟอร์,
มิดเรนจ์ และทวีตเตอร์ได้อย่างอิสระ ทำให้เราสามารถกำหนดบริเวณ
ที่จะใช้ติดตั้งเพื่อให้ได้มุมแผ่กระจายเสียงภายในห้องโดยสารสมบูรณ์
ที่สุด
ดังนั้นลำโพงแบบแยกชิ้นจึงเป็นทางออกที่เหมาะสมสำหรับ
ชุดเครื่องเสียงที่ต้องการไปให้ถึงขั้นสูงที่สุดของคุณภาพเสียง
ลำโพงเปรียบเหมือนปากของระบบเครื่องเสียงรถยนต์ และเป็น
ส่วนประกอบสำคัญ หากไม่มีลำโพงในการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็น
พลังงานเสียงแล้ว ความเป็นเสียงก็คงไม่มีทางเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
ลำโพงรถยนต์มีความแตกต่างกันตามการผลิต ทั้งโลหะที่ใช้
ทำโครงสร้าง ย่านการตอบสนองความถี่ จำนวนลำโพง และความลึก
ของลำโพงที่ต้องใช้ในการติดตั้ง
เมื่อเป็นเช่นนี้ประสิทธิภาพของลำโพงรถยนต์ จึงถูกประเมิน
ต่อจากคุณสมบัติเฉพาะตัว ตั้งแต่ขนาดที่แน่นอน, การตอบสนอง
ความถี่, กำลังขับต่อเนื่องที่สามารถรองรับได้, อิมพีแดนซ์ของลำโพง
และประสิทธิภาพหรือความไวของลำโพง
ลำโพงรถยนต์เหมือนกับลำโพงบ้าน ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงาน
ไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง ในระบบเครื่องเสียงบ้านใช้ลำโพง 1 ตัว
ขับเสียงในย่านความถี่ต่ำ เรียกว่าวูฟเฟอร์ อีก 1 ตัวสำหรับขับ
เสียงกลาง เรียกว่า มิดเรนจ์ และอีก 1 ตัวสำหรับขับเสียงแหลม
เรียกว่า “ทวีตเตอร์” ลำโพงรถยนต์ในปัจจุบันใช้รูปแบบเดียวกัน
แต่ต้องออกแบบใหม่เพื่อใช้ติดตั้งในบริเวณที่มีความลึกและพื้นที่
การติดตั้งน้อย
ยังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างมากกับคำว่า ‘คุณภาพเสียง’
ที่เหมาะสมจากการทดสอบในห้องทดลองเสียงนั้น จะให้เสียงที่ดีได้
จริงหรือไม่เมื่อนำไปติดตั้งในห้องโดยสารรถยนต์
คำถามที่ว่า ลำโพงที่ดีต้องตอบสนองความถี่เสียงได้อย่างถูกต้อง
เหมือนจริง หรือควรออกแบบลำโพงที่มีการชดเชยเสียงไว้บ้าง
ตามสถาพการฟังในห้องโดยสารรถยนต์จริงๆ ซึ่งยังไม่สามารถหา
บทสรุปที่แท้จริงได้ บรรดาวิศวกรออกแบบลำโพงรถยนต์เองก็มี
ความคิดที่แตกต่างกันออกไป
อคูสติค-รีเสิร์ช ผู้นำทางด้านการผลิตลำโพงมานาน ได้พูดถึง
แนวทางของการค้นคว้าเกี่ยวกับลำโพงติดรถยนต์ว่า
“ก่อนเริ่มกระบวนการออกแบบ เราต้องศึกษาอย่างละเอียดถึง
สภาพเสียงต่างๆ ภายในห้องโดยสารรถยนต์ ที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมของเสียง และต้องพบกับความประหลาดใจเกี่ยวกับปริมาณ
ความเข้มของเสียงที่เกิดขึ้นภายในรถยนต์ยิ่งทำให้เสียงเบสตอบสนอง
ได้ลึกเพียงใด ก็ยิ่งทำให้การตอบสนองของเสียงถูกต้องมากยิ่งขึ้น”
“ลำโพงที่ใช้ภายในบ้านไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องนี้ แค่เพียงนำไป
วางชิดฝาผนัง มุมห้อง หรือบริเวณใดก็ได้ ลำโพงยังกระจายเสียงได้
ในมุมกว้าง แต่สำหรับลำโพงรถยนต์ การกระจายเสียงเกิดขึ้นในพื้นที่
รัศมีหนึ่ง”
“ดังนั้นจึงต้องออกแบบเพื่อปรับคุณภาพเสียงให้เหมาะสมที่สุด
สำหรับการใช้งานในรถยนต์ นอกจากนั้นยังต้องมีการทดสอบด้าน
ความทนทานด้วย โดยนำลำโพงผ่านความเย็นและความร้อนเป็นเวลา
ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงนำกลับมาใช้งาน พบว่าลำโพงยัง
ทำงานเป็นปกติและมั่นใจได้ในเรื่องประสิทธิภาพ”
ผู้จัดการฝ่ายผลิตของคอนคอร์ด ได้กล่าวถึงความสำคัญในการ
ออกแบบลำโพงรถยนต์ไว้ว่า
“การติดตั้งที่ยืดหยุ่นได้เป็นเรื่องแรกที่เรากำหนดไว้ ช่างติดตั้ง
มีโอกาสเลือกตำแหน่งติดตั้งได้มากที่สุด เช่น ทวีตเตอร์ขนาด
มาตรฐาน 3-1/4 นิ้ว จะมีขนาดพอดีกับช่องแผงหน้าปัด ที่เรียกกัน
ติดปากว่า DASH Mouth หรืออาจใช้แผ่นอแดปเตอร์ขนาด 4x6
นิ้วมารองรับให้พอดีโดยคงประสิทธิภาพที่สูงสุดเอาไว้”
“เพื่อเอาชนะข้อจำกัดทางด้านกายวิภาคของการติดตั้ง เมื่อทราบ
แล้วว่าสภาพแวดล้อมทำให้เสียงมีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะการ
กระจายเสียงจึงกลายเป็นกุญแจสำคัญในการออกแบบลำโพง สิ่งจำ-
เป็นในด้านประสิทธิภาพของลำโพง คือการออกแบบเพื่อลดความ
สูญเสียให้น้อยที่สุด และความสามารถในการตอบสนองความถี่
อย่างถูกต้อง”
วิศวกรอาวุโสของพอล์ค-ออดิโอ กล่าวไว้ว่า
“ลำโพงของพอล์คมีความแตกต่างจากลำโพงที่จัดเป็นชุด เพราะ
ลำโพงรถยนต์จะต้องมีการนำไปประกอบเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งผู้ซื้อก็คือผู้ออกแบบลำโพง เพราะต้องควบคุมการติดตั้งในรถยนต์
ของตนเอง การเลือกตำแหน่งเพื่อติดตั้งได้ตามใจชอบ หรือตามความ
เหมาะสมเป็นหลักที่ผู้ออกแบบควรยึดถือ”
“เพราะโดยหน้าที่ของนักออกแบบแล้ว ต้องพยายามทำให้ดีที่สุด
เพื่อไม่ต้องพะวงกับตำแหน่งในการติดตั้ง การเลือกวัสดุในการ
ประกอบควรยึดหลักจากความชำนาญดูว่าชิ้นไหนมีความเหมาะสม
และต้องไม่ชำรุดเสียหายได้ง่าย จำเป็นต้องรักษาชื่อเสียงเช่นเดียวกับ
การผลิตลำโพงบ้าน เช่น การใช้ขอบกรวยยึดที่เป็นยาง เพื่อให้ได้เสียง
ที่ดีขึ้นและทนทานมากขึ้น”
หัวหน้าวิศวกรของพาล์ย-อินดัสตรีส์ ได้กล่าวว่า
“เราหาประโยชน์จากการผลิตลำโพงตู้ปิด เพราะทำให้รู้สึกถึง
ความลึกทางด้านมิติเสียง การทำงานของเราเริ่มต้นจากจุดนี้ แล้ว
ถอยหลังกลับไปหาบทสรุปอีกที ลำโพงถูกออกแบบให้ครอบคลุม
ความถี่ได้ตามต้องการ”
“การทำงานของโครงสร้างที่เป็นโลหะและฐานกรวย พยายาม
ทำให้การตอบสนองเป็นไปได้มากที่สุด การทดสอบทุกอย่างต้องทำ
ด้วยสามัญสำนึก โดยส่วนหนึ่งของการทดสอบ จะให้ลำโพงทำงานไป
8 ชั่วโมงด้วยกำลังขับสูงสุดเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะสามารถ
ควบคุมได้ถ้ามีการนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยเรายึดหลักที่ว่าทำอะไร
ก็ตามเพื่อให้ลำโพงมีเป้าหมายอยู่ที่ความทนทาน”
หัวหน้าวิศวกรซาวด์สตรีมกล่าวไว้ว่า
“คุณภาพเสียงมาก่อนเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยความทนทาน
และสุดท้ายง่ายต่อการติดตั้ง รวมถึงรูปลักษณ์ที่แลดูสวยงาม กระบวน
การเริ่มต้นด้วยการกำหนดขนาดของลำโพงที่ต้องการ โดยพิจารณา
ถึงบริเวณที่จะถูกนำไปติดตั้ง”
“การกระจายเสียงที่สามารถขยายออกไปได้กว้างที่สุดเป็นสิ่ง
สำคัญ เพราะสร้างจินตนาการในการฟังเพลงได้ เช่น เปรียบเทียบ
ลำโพง 4 นิ้วในโฟล์คสวาเกน, เมอร์เซเดส-เบนซ์ และฮอนด้า
ในโฟล์คนั้นลำโพงกระจายออกจากศูนย์กลางไปสู่ผู้ฟังโดยตรง”
“ในเมอร์เซเดส-เบนซ์จะสะท้อนไปยังกระจกหน้าแล้วกลับไป
ด้านหลัง ส่วนในฮอนด้าจะพุ่งออกมาเป็นมุมกลับ 90 องศาจาก
จุดศูนย์กลาง ถ้าช่างติดตั้งไม่คำนึงถึงการกระจายของเสียง ลำโพง
จะสูญเสียคุณสมบัติบางส่วน กฏสำคัญคือ การรวมเสียงระหว่าง
ลำโพงตัวหนึ่งกับอีกตัวหนึ่งได้อย่างราบรื่น การรวมกันของเสียงที่เป็น
ธรรมชาตินี้จะกระจายกว้างไปรอบห้องโดยสาร”
ประธานของกลุ่มอินฟินิตี้ได้บอกไว้เกี่ยวกับการออกแบบลำโพง
รถยนต์ว่า
“การใช้เทคนิคโดยเฉลี่ยเพื่อกำหนดเป้าหมายในการออกแบบ
เป็นผลที่ดีอย่างมาก เช่น ลำโพง 5-1/4 นิ้ว น่าจะดีที่สุดสำหรับ
การติดตั้งบนบานประตูหน้า แต่เพราะว่าแผงประตูมีความกว้าง
ต่างกัน เสียงสะท้อนจะมีการเคลื่อนที่อย่างอิสระในช่วงความถี่
50-60 เฮิร์ตซ์ จึงจะเข้ากันได้กับการติดตั้งบนบานประตู”
“ในรถยนต์ส่วนมากมีความถี่เบี่ยงเบนอยู่อย่างแน่นอน มีเสียง
กลางต่ำในปริมาณสูง ซึ่งต่อมาก็ถูกดูดซับไปหมดหลังการติดตั้ง
ผู้ใช้อาจคิดว่าความดันสะสมในช่วงความถี่ต่ำที่ 50 เฮิร์ตซ์ จะฟังแล้ว
ทุ้มลึก นั่นเกิดขึ้นได้สำหรับลำโพงบ้าน แต่ไม่ใช่ในรถยนต์”
“วิธีการทดสอบลำโพงของอินฟินิตี้ จะมีการสร้างสถานที่จำลอง
สภาพภายในห้องโดยสารรถยนต์ ซึ่งทำให้ต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ
จำนวนมากเพื่อวัดเสียงในตำแหน่งต่างๆ”

อุปกรณ์ส่วนควบ (Accessories)
• เป็นอุปกรณ์ปลีกย่อยที่นำมาใช้ร่วมกับงานติดตั้งระบบเสียง
รถยนต์ อันได้แก่หัวขั้วแบตเตอรี่, กระบอกฟิวส์ มีลักษณะที่แตกต่าง
ไปอันได้แก่
สายนำสัญญาณ (Signal Cable)
• รับหน้าที่ในการเชื่อมโยงสัญญาณระหว่างแหล่งต้นเสียง (วิทยุ)
การจัดการเสียง (อีควอไลเซอร์) การขยายกำลังเสียง (เพเวอร์แอมป์)
เพื่อให้เกิดเป็นระบบที่สมบูรณ์ ปัจจุบันจะเน้นสายนำสัญญาณที่เป็น
แบบเกลียวถัก (Woven)
หัวแจ็ค RCA แบบต่างๆ (RCA Connector /Adapter)
• เป็นหัวขั้วเสียบที่ใช้กับบริเวณปลายของสายนำสัญญาณทั้ง
2 ด้าน เพื่อผนึกเข้ากับขั้ว RCA ที่อยู่กับตัววิทยุซีดีหรือเพาเวอร์-
แอมป์ สำหรับหัวข้อต่อตัวแอล (L) ใช้ต่อเข้าเพาเวอร์แอมป์ที่มีพื้นที่
บริเวณหัวแจ็คแคบ
สายลำโพง (Speaker Cable)
• เป็นสายที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างเพาเวอร์แอมป์กับชุดลำโพง
มีรูปแบบให้เลือกใช้มากมาย ในกรณีที่มีเสียงรบกวนเข้าทาง
พาสซีฟครอสโอเวอร์ อาจจำเป็นต้องใช้สายลำโพงแบบถักเกลียว
ช่วยแก้ไข
สายไฟ/สายกราวน์ (Power & Ground Cable)
• เป็นสายที่ใช้ในการเดินนำกำลังไฟจากแบตเตอรี่ ส่งไปยังอุปกรณ์
ต่างๆ ในระบบเสียง มีขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
โดยคำนวณจากอัตราการกินกระแส การใช้สายเบอร์ต่ำกว่าที่ควร
จะเกิดความต้านทานอย่างรุนแรง ทำให้แรงดันไฟตกลงอย่างมาก
ขั้วแบตเตอรี่ (Battery Clamp)
• ในบางกรณีสำหรับระบบเสียงที่มีอัตรการกินกระแสมากๆ
ขั้วแบตเตอรี่ทั้งบวกและลบของเดิมติดมากับรถ อาจมีสภาพการนำ
กระแสที่ไม่เหมาะสม จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้หัวขั้วแบตเตอรี่แบบ
เฉพาะใช้กับระบบเสียง ที่มีความต้านทานต่ำกว่าและให้การจ่าย
กระแสที่มีเสถียรภาพกว่า
ตัวแยกสายไฟ (Distribution Block)
• ทำหน้าที่แบ่งแยกการจ่ายไฟ จากสายไฟแรงดันขนาดใหญ่ที่เดิน
มาจากแบตเตอรี่ ไปเป็นขนาดที่เล็กลงตามความเหมาะสมของอุปกรณ์
แต่ละชิ้นในระบบ
ตัวแยกสายไฟพร้อมฟิวส์ (Fused Distribution Block)
• ในการแบ่งแยกการจ่ายไฟนั้น บางครั้งอาจใช้เพื่อแยกไฟให้กับ
ตัวเพาเวอร์แอมป์แต่ละตัว ซึ่งอาจจะไม่มีชุดฟิวส์บรรจุอยู่ที่เครื่อง
หรือระยะห่างระหว่างตัวแบ่งแยกกับเพาเวอร์แอมป์มีระยะที่เกิน
ความปลอดภัย จึงควรใช้ฟิวส์เสริมเพื่อสร้างมาตรการความปลอดภัย
ให้กับระบบ
ตลับฟิวส์ (Fuse Holder)
• ใช้สำหรับชุดไฟแรงดันหลัก โดยติดตั้งในบริเวณห้องเครื่อง
หลังจากต่อเข้าแบตเตอรี่ในระยะประมาณไม่เกิน 18 นิ้ว มีหน้าที่
ป้องกันในกรณีที่สายไฟแรงดันหลังจากตลับฟิวส์มีการลัดวงจรเกิดขึ้น
ป้องกันไม่ให้เกิดสปาร์คอย่างรุนแรงที่แบตเตอรี่ มีรูปแบบให้เลือก
ตามอัตราการกินกระแสของระบบ
ขั้วสายไฟใหญ่ (Ring Terminal)
• เป็นอุปกรณ์หัวขั้วใหญ่ สำหรับเชื่อมโยงสายไฟแรงดันขนาดใหญ่
(ตั้งแต่เบอร์ 8 ขึ้นไป) เข้ากับขั้วแบตเตอรี่ เพื่อให้สามารถขันแน่น
เข้ากับขั้วแบตเตอรี่โดยตรง ให้การนำกระแสที่สมบูรณ์สำหรับระบบ
เสียงที่มีอัตราการกินกระแสค่อนข้างสูง
หัวขั้วกลม (Seamless Ring Terminal)
• เป็นอุปกรณ์หัวขั้วกลม สำหรับเชื่อมโยงสายไฟแรงดันขนาดกลาง
เข้าขั้วแบตเตอรี่ หรือใช้ในกรณีเป็นหัวขั้วสายไฟกราวน์ที่จะขันแน่น
เข้ากับตัวถังรถ เพื่อสร้างระบบกราวน์ที่สมบูรณ์แบบ
หัวขั้วหางปลา (Barrier Spade)
• เป็นอุปกรณ์หัวขั้วหางปลา เพื่อเชื่อมโยงสายลำโพงเข้ากับ
เพาเวอร์แอมป์ หรือใช้เข้าสายไฟแรงดันกับขั้วเพาเวอร์แอมป์และ
อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีเต้ารับกับหัวขั้วแบบนี้
แบตเตอรี่พิเศษ (Extreme Duty Battery)
• เป็นแบตเตอรี่ที่ออกแบบมาเพื่อการจ่ายไฟที่รุนแรงสำหรับระบบ
เสียงขนาดใหญ่ มีทั้งแบบใช้ทดแทนแบตเตอรี่รถได้โดยตรง และแบบ
ที่ต้องติดตั้งเสริมเข้าไปกับแบตเตอรี่เดิมของรถ
ตัวสำรองไฟ (Capacitor)
• เป็นอุปกรณ์ประเภทคาปาซิเตอร์ เพื่อใช้เก็บและคายประจุ
แรงดันไฟขนาดมากๆ อย่างรวดเร็ว ตามความต้องการของอุปกรณ์
ในระบบเสียง โดยสามารถจ่ายไฟปริมาณมากๆ ได้ในเวลาไม่เกิน
3 วินาที
เบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
• ในกรณีที่ระบบเสียงมีอัตรากินกระแสสูงมากๆ เช่นเกินกว่า 120
แอมแปร์ขึ้นไป ไม่ควรใช้ตลับฟิวส์เพราะให้การนำกระแสได้ไม่ดี
ให้เลือกใช้เบรกเกอร์แทนซึ่งสามารถรับกับกระแสได้สูงถึง 200
แอมแปร์
แผ่นทึบเสียง (Damping Mat)
• วัสดุทึบเสียง (Dead Sound) ที่รีดเป็นแผ่นเรียบขนาดต่างๆ
เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งานกับระบบเสียงรถยนต์

หรือติดต่อเราที่ http://www.facebook.com/art789

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น