วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ตีตู้วีออส ธรรมดาแบบไม่แพงมาก 10นิ้ว ที่สุราษstereo best shop in , Surat Thani , touch [ cheap ] , and good , have here that one , ร้านไหนดีมีของอยู่แล้ว ตีตู้ งานซาวด์ 10นิ้ว วีออส งานสวยๆๆจากร้นเอพี อยากได้งานซาวด์ สวยและไม่แพงมาก ร้านเครื่องเสียงในสุราษฎร์ธานี วีออส พี่เกียติ โดยเอพี คาร์ สี่แยกบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาเดิม สุราษฎรืธานี วีออสพี่เกียติ โดยเอพีคาร์ สี่แยกบ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานี มีของอยู่แล้วอยากหาร้านงานสวย ถูก ที่สุราษ แนะนำ เอพีคาร์ออดิโอ สี่แยกบ้านนาเดิม ตรงข้ามปั้มใบจาก ใกล้กับอู่สมบูรณ์ อำเภอบ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานีงานสวยซาวด์ คอนเซ็ป สวยๆๆ ถูกๆๆ0836917431 เสร็จงานดู แลทุกข้อบกพร่อง งานดี อยากได้งานซาวด์สวยๆๆที่สุราษฎร์ธานี ร้านดีๆๆ งานสวยๆๆ ราคาไม่แพงที่ สุราษ ต้องร้านเอพีคาร์ออดิโอ เท่านั้นถูก ดี ราคาคุยกัยได้ อันนี้เป็นอีกงานซาวด์ ซื้อของไว้แล้ว ต้องการงานซาวด์สวย และไม่แพงมาก


ขอบคุณมากครับ นี่เป็นอีกงาน ที่ภูมิใจเสนอ วิจารณ์งานได้น่ะครับ ยินดีรับทุกคำติ ชม

กว่าจะรื้อ เบาะเดินระบบ เล่นซะเหนื่อย เลยครับ มันช้าตรงนี้ด้วย

เรียบง่าย  แต่ด่วน สุดๆๆ

เพิ่มคำอธิบายภาพ
มืดแล้วพี่เค้ารอผมเลยรีบถ่ายไว้เพราะเด่วออกไป  ไม่ได้ถ่ายอีก


ชุดนี้แค่ เฉพาะงานก้อ  13500 ขึ้นชิ้นงานด้านหลังด้วยครับ
   






เร่งสุดๆๆครับทันเวลา   2วัน2คืน  แต่กว่าจะเสร็จเกือบตีสามเลยครับ



ขอบคุณพี่เกียติ เซลเหล็กภาคใต้ เป็นลูกค้าออนไลด์งานผ่านเน็ต ขอบคุณที่สนใจและชอบในงานของผม เลยไว้วางใจให้ทำงานนี้ขึ้มมาครับhttp://www.facebook.com/art789

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แผงประตูงานซาวด์สวยตามต้องการ ติดเครื่องเสียงดีถูกต้องเอพีคาร์ออดิโอ สี่แยกบ้านนาเดิม ตรงข้ามปั้มใบจาก ข้างอู่สมบูรณ์0836917431 แผงประตูสวยๆๆราคาหลักพัน สวยๆๆสั่งทำแผงประตูสวยๆๆได้ที่ร้านเอพี ราคาไม่แพง



แผงประตุเจ้าของบอกเอาเรียบๆๆครับ








 

อันนี้ติดใจเพิ่มเติม   ลูกค้าเป็นคนเขาน้อย  ปลายน้ำ ครับ  สนใจงานติดต่อ ช่างอาร์ท 0836917431


อันนี้ขอไมตี้ที่ร้าน แบบเต็มๆๆก็ไม่เกิน7000หรอกครับ ส่วนรูปแบบลูกเล่นแล้วแต่ลูกค้า ครับ สนใจติดต่อได้น่ะครับ ร้านเราไม่แพงอย่างที่คิด และเป็นกันเองด้วยครับ
 
http://www.facebook.com/art789  เบอร์ติดต่อ 0836917431 0844478019 ครับ ช่างอาร์ท

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บ่าวปาน กับฟอร์ด ตอนครึ่ง1ชุดเบาๆๆแค่หมื่นกว่าๆๆ ติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์ที่สุราษราคากันเอง กับเอพีคาร์ออดิดอ สุราษ 0836917431






ครับกับอีกผลงานนึงของผม...ฟอร์ดตอนครึ่ง ของพี่ปาน น่ะครับ งานชิ้นเล็กน้อยแต่ภูมิใจ เสนอเพื่อข้อติเตียนน่ะครับ  ชุดนี้แค่หมื่นกว่าเองครับ หาก จะติดตามผลงานได้ทางเฟสบุ๊ค ก้อได้น่ะครับwww.facebook.com/art789  หรือโทร0836917431
 จะสังเกตได้ว่าเรา จะทำสีสรรชิ้นงานตามความต้องการของผู้ใช้เป้นส่วนใหญ่เพื่อความสวยงาม
คงทน และใชข้งานได้นานไม่เบื่อ ขอบคุณอีกครั้งกับพี่ปาน ที่ไว้วางใจเอพีคาร์ออดิโอสุราษ น่ะครับ

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วีออส น้องหมางาน เพิ่มเติมล่าสุด จากเอพีคาร์ออดิโอ สี่แยกบ้านนาเดิมตรงข้ามปั้มใบจากบ้านนาเดิมสุราษฏร์ธานี

สีสัน มากมายกับวีออสของน้องหมา
 อันนี้เพิ่ง เพิ่มเติมงานแผงหลัง
และ งานซาวด์เสาร์เอคู่หน้า





 ถึงแม้ สร้างสรร งานกับเราแบบเพิ่ม เติมหรือแบบต่างๆๆ  ก้อขอขอบคุณที่ไว้วางใจ เอพีคาร์ออดิโอ สุราษฎร์ธานี  ขอบคุณครับ  หรือทางเฟสบุ๊คhttp://www.facebook.com/art789









วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

การเลือกสายเชื่อมระบบเสียง จากเอเพี คาร์ออดิโอ สี่แยกบ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานีตรงข้ามปั้มใบจาก ข้างอู่สมบูรณ์

การเลือกสายเชื่อมระบบเสียง

ในกระบวนการผลิตสายจะมีการนำทองแดงมารีดให้ได้ขนาดตามต้องการ
ซึ่งไม่ว่าจะผลิตในระบบใด การรีดทองแดงจะทำให้เกิดปัญหาสำคัญตามมา
ได้แก่
1. ปัญหาที่เกิดจากช่องว่างในเนื้อตัวนำ
ซึ่งจะทำให้สารมลภาวะต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และคาร์บอน
มอนน็อกไซด์ (CO) หรือแม้แต่ออกซิเจน (O2) เข้ามาทำปฏิกริยาให้เกิดสนิมออกไซด์
(สนิมสีเขียว) ได้ง่าย ซึ่งมีผลทำให้สัญญาณที่ไหลผ่านไม่ได้ดี คุณภาพของเสียงก็ด้อยลง
2. ปัญหาที่เกิดจากฉนวนของสาย
โดยสายทั่วไปนิยมใช้ PVC ในการทำฉนวน ซึ่งสาร PVC มีข้อบกพร่องที่สำคัญคือ PVC
จะเสื่อมตามการใช้งาน, PVC สามารถทำปฏิกริยากับสารเคมีได้ง่าย, PVC ติดไฟง่าย,
PVC เป็นสารที่มีพิษ ซึ่งจะทำลายสภาพแวดล้อมและมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางเคมี ทำให้คุณสมบัติของสายและสัญญาณที่ผ่านด้อยลงไป
3. ปัญหาที่เกิดจากการสั่นสะเทือน (Vibration)
หรือการหักงอในการใช้งานสายสัญญาณหรือสายไฟย่อมหลีกเลี่ยงการ
หักงอหรือการตัดสายไปไม่ได้ ซึ่งการกระทำเหล่านี้จะทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของ
สายเปลี่ยนไป
4. ปัญหาจากสัญญาณภายนอกเข้ามารบกวนสัญญาณภายในสาย
สายที่คุณภาพไม่ดีนั้น สัญญาณรบกวนจากภายนอกจะเข้ามารบกวนได้ง่าย
สายเชื่อมระบบบางชนิดในยุคสมัยแรกมีค่าอิมพีแดนซ์ประมาณ 8 โอห์ม ซึ่งสายที่มี
อิมพีแดนซ์สูงเหล่านี้จะให้เสียงดีกว่าหรือแย่กว่า ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถหรือความไร้
ความสามารถในอันที่จะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาต่างๆ ในเรื่องปัจจัยของสาย ได้แก่
หลักสำคัญของสาย จะต้องไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณที่วิ่งผ่าน
ผลกระทบที่เกิดจากพื้นที่ผิวของสาย (Skin-Effect) เป็นปัจจัยสำคัญที่ลดทอน
คุณภาพและประสิทธิภาพการนำสัญญาณของสาย ยิ่งมีพื้นที่ผิวมากก็ยิ่งผิดพลาดมาก
ปฏิกริยาที่เกิดจาก สนามแม่เหล็ก (Magnetic Interaction) เมื่อสายนั้นมี
กระแสผ่านเข้าไปจะมีผลต่อคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ของสาย ทำให้ความถี่เพิ่มสูง
ขึ้นและเกิดความผิดเพี้ยนสารตัวนำแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการถ่ายนำสัญญาณที่แตกต่างกัน
ออกไป ตามค่าของความต้านทานจำเพาะของมัน นอกจากนี้
ยังรวมถึง ความบริสุทธิ์ (Purity) และรูปแบบของ การตกผลึก (Crystallization)
ในตัวมันเองด้วย
สายประเภทนี้ส่วนใหญ่จะถูกหาว่าเป็นเหตุให้สัญญาณจัดจ้านเกินไป หรือทำให้เกิด
เสียงรบกวนขึ้น ซึ่งในความจริงแล้วสายเองไม่ได้มีความจัดจ้านเลย เพียงแต่เกิดจาก
เพาเวอร์แอมป์ที่ต่ออยู่ได้ส่งสัญญาณที่ไม่สม่ำเสมอผ่านการถ่ายนำของสายนั้นต่างหาก
สายบางประเภทที่มีค่าความจุสูงๆได้ถูกออกแบบโดยใช้เทคนิคที่เรียกกันว่า Litz
ซึ่งหมายถึงการจัดเรียงตัวของสายที่หุ้มฉนวนแต่ละเส้น โดยแต่ละเส้นมีค่าทางอิเล็กทรอ-
นิกส์ที่แตกต่างกัน สายแบบ Litz จึงมีค่าความจุที่หลากหลาย บาททีก็สูงมาก บางทีก็
ต่ำมาก แม้ปัจจุบันก็ยังมีการเข้าใจผิดว่าสายประเภทนี้มีความจัดจ้านเกินไป ทั้งที่จริง
ปัญหาคือเพาเวอร์แอมป์
เช่นเดียวกับความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สายที่ใช้โลหะตัวนำที่เป็นทองแดงแบบ
LC-OFC ที่บางคนก็ว่ามันไม่มีดีอะไร บางคันก็ว่ามันมีเสียงกวนและจัดจ้าน ซึ่งความ
จริงแล้วการใช้สายแบบ LC-OFC เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ เพราะหากเป็นสาย
ที่ทำมาจากทองแดงเกรดต่ำๆ เสียงที่ได้ก็คงไม่ดีเด่นอะไรนัก


การออกแบบสายนำสัญญาณ
• การออกแบบสายเพื่อใช้กับ การนำสัญญาณระดับต่ำ(Low Level) ก็มีปัญหา
หลักๆคล้ายกับการออกแบบสายเชื่อมระบบอื่นๆ เพียงแต่ผลในเชิงกลที่เกี่ยวข้องกับ
สนามแม่เหล็กนั้นลดลงไปอย่างมาก คุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ของสารทำ
ฉนวนนั้น มีความสำคัญมากกับสายนำสัญญาณระดับต่ำ โดยฉนวนจะไปลดหรือกัก
เก็บพลังงานเอาไว้ และมันจะมีผลไปถึงสัญญาณเสียงที่ออกตรงปลายทางด้วย
โดยทั่วไป ค่าความคงที่ของฉนวน (Dielectric Constant) มักถูกนำมาใช้ใน
การโฆษณาเพื่อเน้นไปที่สเปก แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นสิ่งชัดเจนกับการบอกว่าสารที่
ต่างไปนั้นจะให้ผลทางเสียง จริงๆ คือ ค่าสัมประสิทธิ์ของการดูดซับ(Coeffient of
absorption) นั้นไม่มีประโยชน์มากนัก แต่ที่มีความหมายและมีผลมากกว่าก็คือ ปัจจัยใน
เรื่อง ความเร็วในการแพร่กระจาย (Velocity of propagation and dissipation)
ปัญหาก็คือตัวฉนวนจะก่อให้เกิดผลคล้าย ตัวเก็บประจุ(Capacitor) โดยจะ
กักพลังงานเอาไว้ แล้วลดระดับพลังงานลงในที่สุด ซึ่งปัญหาทำนองเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้น
กับสารที่ใช้ทำแผงวงจร, ทำสาย และตัวต้านทานเช่นกัน มีเพียง สายในอุดมคติ
(Ideal Wire) เท่านั้นที่ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เมื่อนำ โลหะตัวนำในสภาพของแข็ง
(Solid Material) มาใช้ เราไม่สามารถเห็นถึงผลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง การลดลง
ของพลังงานจะเป็นตัวบอกให้ทราบ พลังงานที่ถูกดูดซับไว้นั้นก็ยังคงอยู่ที่จุดเดิม แล้ว
เปลี่ยนสภาพออกไปเป็นพลังงานความร้อนและความร้อนนี้จะกลับไปมีผลต่อโลหะตัวนำ
นั้นอีกครั้งในเรื่อง เฟส(Phase) ที่เบี่ยงเบนไป แต่ไม่ใช่เรื่องของ การเลือกความถี่
(Frequency Selective) ที่ระดับความถี่สูงๆ โดยปกติฉนวนทุกชนิดจะมีการดูดซับ
พลังงานเอาไว้ แต่บางครั้งก็ไม่มีผลมากนักเมื่อรวมกับคุณสมบัติอื่นๆ
สารสำหรับทำเป็นฉนวนที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีอยู่ไม่กี่ชนิด อันได้แก่ PVC,
Polyethylene, Polypropylene และ Taflon ซึ่งบรรดาสารเหล่านี้สามารถที่จะเกิด
ฟองอากาศ(air foam) ได้ด้วย
การพิจารณาเลือกใช้สารใดก็จะดูจากผลกระทบที่มีต่อการถ่ายนำสัญญาณในระดับ
ต่ำ สำหรับ PVC นั้นถือว่าด้อยที่สุดเพราะมีการดูดซับพลังงานไว้มากที่สุด ในขณะที่
Polyethylene ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด เพราะดูดซับพลังงานน้อยกว่า และมี
ความเพี้ยนต่ำมาก โดยมันจะมีความแข็งแกร่งทางอิเล็กทรอนิคมากกว่า และ Teflon
จะดีที่สุด (แต่ใช้กันน้อยเนื่องจากราคาสูง)
ค่าความจุ(Capacitance) จะมีความสำคัญมากกับสายนำสัญญาณระดับต่ำ
ด้วยเหตุผลคือ หากสายนั้นมีค่าความจุสูงและมาก สัญญาณปรีเอาท์จากเครื่องเล่น
ต่างๆ จะไม่สามารถขับสัญญาณออกมาได้ค่าความเพี้ยนจะไม่เกิดขึ้นภายในสายแต่เกิด
จากตัวสายเอง
ดังนั้นมันจะไม่มีข้อด้อยใดๆ จากการใช้สายนำสัญญาณระดับต่ำที่มีค่าความจุน้อย
เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือ ค่าความจุที่สูงๆ นี้ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นระหว่าง
ตัวนำแบบลบ(Negative) และ แบบบวก(Postitive) ซึ่งนั่นหมายความว่า
พลังงานเป็นจำนวนมากจะถูกกักเอาไว้ที่ฉนวน สรุปก็คือไม่ว่าจะใช้สารใดมาเป็นตัว
ฉนวนก็ตาม ค่าความจุจะมีผลมากกว่า ยิ่งค่าความจุต่ำเท่าใดก็จะมีปัญหาลดน้อยลง
เท่านั้น
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาย
1. เช่นกันกับอุปกรณ์ระบบเสียงรถยนต์ชิ้นอื่นๆ สายก็ต้องการระยะเวลาใน
การอุ่นเครื่องเหมือนกัน โดยสายจะปรับตัวเองให้ทำงานจนได้คุณภาพเสียงออกมา เมื่อ
ผ่านการใช้งานไปแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์เวลาที่ใช้มักเป็นการช่วยทำให้สารที่ใช้ทำ
ฉนวนปรับสภาพทางอิเล็กทรอนิกส์จนเข้าที่เข้าทาง
2. สายทั้งหลายจะมี ทิศทาง (Direction) ในการถ่ายนำด้วยกันทั้งสิ้น ไม่
ว่าจะเป็นสายไฟธรรมดา จนถึงสายพิเศษที่ทำการโลหะเงินบริสุทธิ์ ดังนั้นในการใช้งาน
บางชนิดจำเป็นต้องคำนึงถึงทิศทางด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายนำสัญญาณเสียงและสาย
ลำโพง บางครั้งต้องใช้ไปในทิศทางเดียวกันบางทีก็ต้องใช้ในทิศทางตรงกันข้าม สายบาง
ยี่ห้อที่ผลิตโดยบริษัทชื่อดังจะมีการทำคู่มือ เพื่อการใช้งานมาให้ด้วย หรือไม่ก็แจ้งไว้ที่
ตัวแกนของโรลสาย(Spool) และหากไม่มีแจ้งเอาไว้ อาจต้องใช้การเปรียบเทียบดู
ว่าด้านไหนจะได้เสียงดีกว่ากัน ซึ่งเปรียบเทียบได้ง่ายพอควร
3. พาสซีฟ-ครอสโอเวอร์ของลำโพงบางยี่ห้อ สามารถต่อแบบ ไบไวร์(Biwire)
ได้ทันที โดยมีขั้วอันหนึ่งสำหรับวูฟเฟอร์และขั้วอีกอันหนึ่งสำหรับทวีตเตอร์
ซึ่งวิธีการนี้สามารถลดความเพี้ยนบางอย่างของลำโพงลงได้
การต่อสายลำโพงแบบไบไวร์นั้น จะต้องใช้สายทั้งสองเส้นทีเหมือนกัน หรือ
ออกแบบมาลักษณะเดียวกัน หากสายทั้งสองมีความแตกต่างกันในเรื่องของเฟสมาก จะ
เกิดลักษณะการเลื่อนเฟสมากๆ ความสมบูรณ์และความเข้ากันได้ของลำโพงทั้งสอง
ก็จะด้อยลง
4. การเชื่อมต่อสายเพื่อให้มีคุณภาพสูงสุดนั้นมักเป็นการต่อแบบเชิงกล การบัดกรี
ไม่มีผลต่อการถ่ายนำที่ดีนัก เพราะตะกั่วไม่ใช่ตัวนำที่ดี ซึ่งการเชื่อมต่อสายด้วยการ
บัดกรีนั้นจะใช้ตะกั่วน้อยสุด ให้ผิวของโลหะตัวนำสัมผัสกันและกันมากที่สุด การ
หลอมละลายให้ติดกันจึงเป็นวิธีการต่อสายที่ดีที่สุด
ตัวนำสัญญาณชนิดต่างๆ

• สายนำสัญญาณโดยทั่วไปมักนิยมใช้โลหะทองแดง (Copper) เป็นตัวถ่ายนำ
สัญญาณ แต่ถึงจะใช้ทองแดงเป็นสารตัวนำสัญญาณเหมือนกัน แต่คุณภาพของการถ่าย
นำสัญญาณจะเด่นจะด้อยก็ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตทองแดงนั้นๆ ขึ้นมา โดยเน้นให้มี
ความบริสุทธิ์สูงสุด เพื่อให้คลื่นสัญญาณเสียงผ่านได้สะดวกมากที่สุด จนเกิดการแปลง
สัญญาณที่สุดปลายทาง ชื่อของทองแดงจึงถูกเรียกแตกต่างกันไปตามกระบวนการใน
การผลิตขึ้นมา ที่พบเห็นกันบ่อยก็ได้แก่ TPC (Tough Pitch Copper)
• เป็นสายที่ผลิตขึ้นเพื่อการใช้งานเกี่ยวกับไฟฟ้าทั่วไป อาทิ สายไฟบ้าน ซึ่งอาจมี
การนำมาใช้กับระบบเสียงอยู่เหมือนกัน แต่เป็นสายแบบธรรมดา กระบวนการผลิตเส้น
ทองแดงชนิดนี้จะใช้กรรมวิธีการหลอมปกติแล้วปล่อยให้เย็นตัวลงในสภาพบรรยากาศที่
มีออกซิเจน (Oxygen) อยู่ประมาณ 300-500 PPM (PPM: Part Per Million หรือ
หนึ่งล้านส่วน) เส้นทองแดงชนิดนี้นอกจากตัวเนื้อโลหะตัวนำเป็นทองแดงแล้ว ยังมีส่วน
ผสมของไฮโดรเจน (Hydrogen) อยู่ด้วย OFC (Oxygen Free Copper)
• เป็นสายที่ผลิตขึ้นโดยเน้นการกำจัดไฮโดรเจนออกไป และลดปริมาณของ
ออกซิเจนลงให้มากที่สุด โดยการหลอมโลหะทองแดงให้อ่อนตัวลงเพื่อลดโครงสร้างของ
ผลึกทองแดงให้เล็กลง สายประเภท OFC นี้ จะมีค่าความบริสุทธิ์ของทองแดงมากถึง
99.99% และมีออกซิเจนเจือปนอยู่น้อยมากประมาณไม่ถึง 10 PPM
PCOCC (Pure Copper by OHNO Continuouse Casting Precess)
• กรรมวิธีการผลิตแบบนี้ ปัจจุบันถือว่าสุดยอดทางเทคนิคการผลิตทองแดง เพื่อเพิ่ม
ขีดความสามารถในการถ่ายนำสัญญาณพัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ OHNO แห่ง
Chiba Institute of Technoloty เริ่มต้นจากการหลอมทองแดงให้เกี่ยวเนื่องกันแบบ
โมด์ความร้อน เพื่อทำให้ทองแดงเหลือเพียงผลึกเดี่ยว(Monocrystallization)
การเกิดเป็นผลึกเดี่ยวนี้เอง จึงไม่มีทั้งออกซิเจนและไฮโดรเจน และยังช่วยลด
อัตราส่วนของแรงดึงต่อแรงดันลงได้มากอีกด้วย จึงทำให้มีค่าความพลิกผันมากกว่า
ค่า Q นอกจากนั้น PCOCC ยังมีแรงต้านทานต่อสนามแม่เหล็ก อันเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนภายในตัวนำสัญญาณต่างๆที่ผ่านเข้ามาจึงไม่มีการ
บิดเบือน ปัจจุบันด้วยเทคนิคของ PCOCC นี้ ทำให้มีค่าความบริสุทธิ์ของทองแดงมาก
ถึง 99,99999% เลยทีเดียว มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า สาย 7N
การถักเกลียว
บทสรุปของสายนำสัญญาณ
• ในการติดตั้งระบบเสียงรถยนต์นั้น ปัญหาที่สร้างความรำคาญให้กับงานติดตั้งทั้ง
หลายก็คือ เสียงรบกวนที่ดูราวกับปัญหาน่าปวดหัว จริงๆแล้วปัญหาก็เกิดเพราะไฟฟ้าที่
ได้จากไดชาร์จรถยนต์นั้นเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 3 เฟส จากนั้นเมื่อผ่านชุดไดโอด
เพื่อแปลงเป็นไฟตรงจะเกิดลักษณะที่เรียกกันว่า ริพเพิล(Ripple) คือเป็นไฟบวกที่ไม่
เรียบ ยิ่งความเร็วรอบมาก ริพเพิลนี้ก็จะมากตามไปด้วย และทำให้เกิดเสียงรบกวนใน
ระดับหนึ่งขึ้นมา ดังนั้นจะเห็นว่าเสียงรบกวน จะมีก็ต่อเมื่อสตาร์ตเครื่องยนต์ และระบบ
เสียงเรียกใช้ไฟจากไดชาร์จ
เมื่อเราใช้ตัวถังรถเป็นทางเดินกลับของแรงดันไฟ และแรงดันไฟนั้นก็มีลักษณะเป็น
ริพเพิล จึงก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและมีอยู่เช่นนี้ในรถเกือบทุกคัน มันมีอิทธิพลต่อ
อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆในรถน้อยมาก แต่มีอิทธิพลกับระบบเสียงที่ติดตั้งเข้าไป ในทาง
ฟิสิกส์แล้วพบว่าเมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวนำจะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กฟ้า และเมื่อมี
โลหะตัวนำไปตัดผ่านอยู่ภายในสนามแม่เหล็กไฟฟ้านั้นก็จะเกิดการเหนี่ยวนำ ทำให้
เกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้าขึ้น และก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในโลหะตัวนำตัวที่สอง
นั้นด้วย ซึ่งเราเรียกว่า กระแสเหนี่ยวนำ ในกรณีที่เราใช้สายสัญญาณแบบ
โคแอคเชียล(Co-Axial) โดยใช้โลหะตัวนำอยู่กลางเป็นขั้วบวกและใช้ชีลด์
(Shield) เป็นขั้วลบ เมื่อมีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้น บริเวณ A และ B จะได้รับ
อิทธิพลจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไม่เท่ากัน ก่อให้เกิดความต่างศักย์ และเกิดกระแส
เหนี่ยวนำขึ้น ส่งผลให้เกิดเสียงรบกวนเล็ดลอดเข้ามาในระบบการถ่ายนำสัญญาณ
และจะยิ่งมีผลมากขึ้นหากสายนั้นมีระยะทางที่อยู่ในสนามแม่เหล็กมากขึ้น ยิ่งในกรณีการ
เดินสายนำสัญญาณสองเส้นขนานกัน จะพบว่าเมื่อมีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้น จะมี
อิทธิพลกับสายนำสัญญาณทั้งสองในระดับที่ไม่เท่ากัน และจะเกิด ลูป(Loop) ของ
กระแสเหนี่ยวนำขึ้น และนำไปสู่การแทรกซ้อนของเสียงรบกวนเข้าสู่ระบบเสียง
วิธีที่ดีที่สุดเท่าที่เคยค้นคิดกันมา ก็คือ การใช้สาย ระบบสมมาตร(Balanced
Line) ที่มีการชดเชยต่างๆจนไม่เกิดความต่างศักย์ขึ้น แต่ก็อีกนั่นแหละเทคนิคสมมาตร
นี้ค่อนข้างแพงเกินไป จึงมักใช้กับระบบที่มีมูลค่าสูงๆ
การถักเกลียว
• จากปัญหาโครงสร้างของสายแบบโคแอคเชียล วิศวกรผู้ออกแบบสายนำสัญญาณ
จึงทำการศึกษาและค้นคิดวิธีการใหม่ที่สามารถชดเชยปัญหาจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าลง โดยนำ
สายสัญญาณทั้งบวกและลบมาทำการ ‘ถักเกลียว’ เข้าด้วยกัน
เมื่อสายเกลียวผ่านในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จะเกิดอิทธิพลแก่สายทั้งบวกและลบ
ในระดับที่แตกต่างกันไป และเกิดการชดเชยกันขึ้นจนไม่เกิดค่าความต่างศักย์ขึ้น หรือหาก
จะเกิดขึ้นก็มีเพียงเล็กน้อย มีผลให้ไม่เกิดกระแสเหนี่ยวนำและไม่เกิดการรบกวนขึ้น
จุดเด่นสำคัญของสายถักเกลียวต่อการแก้ปัญหาเสียงรบกวนจากสนามแม่เหล็ก
ไฟฟ้า คือ สนนราคาที่ไม่สูงเกินเอื้อม ดังนั้นทฤษฎีแห่งสายนำสัญญาณในยุค 2004 ขอ
เพียงมีการถักเกลียวก็จัดว่าเหมาะสมต่อการเลือกใช้งาน
หน้าที่ของสายในระบบ
• สายที่นำมาใช้ในระบบมีหลายแบบ แต่ที่เรียกกันตามสามัญนั้นแยกเป็น 3 ประเภท คือ สายนำ
สัญญาณ, สายลำโพง และสายไฟกำลัง
1. สายนำสัญญาณ หรือเรียกกันทั่วไปว่าสาย RCA มีหน้าที่ในการนำสัญญาณระดับ
ต่ำจากหัวแจ็ค RCA ที่ตัววิทยุซีดีไปยังอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ครอสโอเวอร์ ตลอดไป
จนถึงเพาเวอร์แอมป์ พูดง่ายๆ ก็คือ สายนำสัญญาณมีหน้าที่นำพาสัญญาณเสียงจาก
อุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง โดยต่ออยู่ระหว่างชิ้นอุปกรณ์ระบบเสียงรถยนต์
2. สายลำโพง มีหน้าที่ในการนำกระแสเสียงจากเอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ไปยัง
ลำโพง (กรณีไม่มีพาสซีฟครอสโอเวอร์) หรือจากเอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ไปยังพาส-
ซีฟครอสโอเวอร์ และจากพาสซีฟครอสโอเวอร์ไปยังลำโพงแต่ละตัว(แหลม-ทวีตเตอร์/
ทุ้ม-มิดวูฟเฟอร์)
3. สายไฟกำลัง มีหน้าที่นำกระแสไฟแรงดันจากแบตเตอรี่ไปป้อนจ่ายให้กับชิ้นอุปกรณ์
ระบบเสียงรถยนต์ อาทิ วิทยุเทป, วิทยุซีดี,เพาเวอร์แอมป์ ฯลฯ เพื่อให้ชิ้นอุปกรณ์ระบบ
เสียงแต่ละชิ้นมีไฟเลี้ยงในการทำงานให้เกิดเป็นเสียง
สมมุติวางระบบเป็นวิทยุซีดีไฮเพาเวอร์ขับลำโพงคู่หน้า และคู่หลัง ก็ต้องใช้สายไฟ
กำลังหนึ่งชุด ในการนำกระแสไฟจากแบต-เตอรี่ป้อนให้กับวิทยุซีดี (ดีที่สุดคือเดินตรง
จากแบตเตอรี่เข้าไฟตรงของวิทยุซีดี) และสายลำโพง 2 ชุด เดินจากวิทยุซีดีไปยังลำ-
โพงคู่หน้า 1 ชุด และจากวิทยุซีดีไปยังลำโพงคู่หลัง 1 ชุด ไม่ต้องใช้สายนำสัญญาณเนื่อง
จากในระบบนี้ไม่มีเพาเวอร์แอมป์ต่ออยู่ในทำนองเดียวกัน ถ้าวางระบบเป็น
วิทยุซีดีขับผ่านเพาเวอร์แอมป์ 2 เครื่อง สำหรับลำโพงชุดหน้า และลำโพงชุดหลังแยก
อิสระ ก็ต้องใช้สายไฟกำลัง 3 ชุดในการนำกระแสไฟ หรือเดินสายไฟกำลังขนาดใหญ่ 1
ชุด แล้วไปแยกเข้าอุปกรณ์แต่ละตัวใช้สายลำโพง 2 ชุดเดินจากเพาเวอร์-
แอมป์ไปลำโพงคู่หน้า 1 ชุด และจากเพาเวอร์แอมป์ไปลำโพงคู่หลัง 1 ชุด ใช้สาย
RCA อีก 2 ชุด เพื่อนำสัญญาณจากวิทยุซีดีไปป้อนเข้าเพาเวอร์แอมป์แต่ละตัว
จุดสำคัญในการเลือกสาย
• ด้วยความที่สายแต่ละประเภทมีหน้าที่ใช้งานแตกต่างกันไป จุดสำคัญในการเลือกใช้สายแต่ละ
ประเภทสำหรับระบบเสียงรถยนต์ ย่อมมีข้อแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน จุดหลักที่ต้องสังเกต
สำหรับการเลือกสายแต่ละประเภทมีดังต่อไปนี้
1. สายนำสัญญาณระดับมาตรฐาน จุดที่ต้องสังเกตสำหรับการเลือกใช้สายนำ
สัญญาณ (สาย RCA) มีดังต่อไปนี้
1.1 รอยต่อระหว่างเส้นสายนำสัญญาณและขั้วหัวแจ็คต้องแนบสนิท
เป็นส่วนเดียวกันมากที่สุด (เพื่อลดความต้านทานให้น้อยที่สุด)
1.2 เนื้อทองแดงภายในควรมีความบริสุทธิ์ เป็นไปได้ควรเลือกสาย
นำสัญญาณที่เส้นลวดภายในแบบ OFC ถึง OFCC
1.3 มีผนังเซลที่เป็นซีลหุ้มเอาไว้ตลอดทั้งสายจากปลายถึงปลาย เพื่อช่วย
ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ระดับหนึ่งในปัจจุบันจะเน้นถึงการถักเกลียว
ตัวนำสายภายใน ซึ่งให้ผลในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากสนาม
แม่เหล็กได้ดีที่สุด
1.4 วัสดุที่ใช้ห่อหุ้มสายทั้งหมดต้องมีความยืดหยุ่น ไม่แข็งขืนตัว หรือหดตัว
ตามสภาพอุณหภูมิในรถ
1.5 บริเวณปลายหัวแจ็คควรเป็นวัสดุที่ไม่มีปฏิกริยาต่อออกไซด์ (ไม่เกิด
สนิม) เลือกได้ทั้งแบบเคลือบผิวทอง หรือเคลือบโรเดี่ยม
1.6 ตัวหนีบที่ปลายตัวแจ็คต้องมีการหนีบที่แน่นหนามากที่สุด ทดสอบได้
โดยการเสียบเข้าไปที่หัวแจ็ค RCAของเพาเวอร์แอมป์แล้วลองดึงออก
ถ้าดึงออกยากที่สุดก็ถือว่าดีที่สุด
2. สายลำโพงระดับมาตรฐาน จุดที่ต้องสังเกตสำหรับการเลือกใช้สายลำโพง มีดังต่อ
ไปนี้
2.1 ตัวสายต้องมีเปลือกหุ้มที่ยืดหยุ่นสามารถดัดโค้งงอได้ง่ายโดยไม่
เปราะแตก
2.2 เส้นตัวนำภายในควรมีสภาพความเป็นทองแดงสูง
2.3 มีจุดสังเกตของเส้นสายบวกและเส้นสายลบที่เด่นชัด เพื่อความสะดวก
ในการติดตั้ง
2.4 เปลือกที่หุ้มห่อสายต้องทนต่อกรด ความร้อน และน้ำยาเคมีต่างๆ ได้ดี
3. สายไฟกำลังระดับมาตรฐาน จุดที่ต้องสังเกตสำหรับการเลือกใช้สายไฟกำลัง มีดัง
ต่อไปนี้
3.1 เปลือกที่ห่อหุ้มสายต้องมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง
3.2 เปลือกที่หุ้มสายต้องทนทานต่อน้ำยาเคมี, กรด และความร้อนได้ดี
3.3 ขนาดพื้นที่ของตัวนำกระแสไฟภายในสาย ต้องมีพื้นที่หน้าตัดตรง
ตามเบอร์ที่กำหนดจริงๆ
3.4 ต้องมีแรงต้านทานภายในของสายต่ำที่สุด
ความยาวของสายในการเดินระบบ
• ในการติดตั้งระบบเสียงรถยนต์แต่ละครั้งควรที่จะได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับขนาดความยาว
ของสายแต่ละประเภท ที่ต้องนำมาใช้ร่วมกับระบบเสียงรถยนต์ โดยมีหลักมาตรฐานของขนาดความ
ยาวต่างๆดังนี้
1. ความยาวของสายนำสัญญาณ
• สายนำสัญญาณที่เดินระหว่างชิ้นอุปกรณ์ในส่วนหน้าหรือส่วนอื่นๆ อาทิ จาก
วิทยุซีดีไปยังอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง หรือจากอิเล็กทรอนิสก์ครอสโอเวอร์
ไปยังเพาเวอร์แอมป์ที่อยู่ใต้ลิ้นชักเก็บของ จะมีขนาดความยาวประมาณ 3 ฟุตหรือ 1 เมตร
• สายนำสัญญาณที่เดินจากชิ้นอุปกรณ์ส่วนหน้าไปยังชิ้นอุปกรณ์หรือเพาเวอร์แอมป์
ที่ติดตั้งเอาไว้ใต้เบาะที่นั่งชุดหน้า จะมีขนาดความยาวประมาณ 10 ฟุตหรือ 3 เมตร
• สายนำสัญญาณที่เดินจากชิ้นอุปกรณ์ส่วนหน้าไปยังชิ้นอุปกรณ์หรือเพาเวอร์แอมป์
ที่ติดตั้งเอาไว้ในห้องสัมภาระท้ายรถ จะมีขนาดความยาวประมาณ 16 ฟุตหรือ 5 เมตร
2. ความยาวของสายลำโพง
• สายลำโพงที่เดินจากวิทยุซีดี (หน้า) หรือเพาเวอร์แอมป์ (หลัง) ไปยังลำโพงคู่
หน้าเพียงคู่เดียว ใช้ขนาดความยาวรวมประมาณ 24 ฟุตหรือ 8 เมตร
• สายลำโพงที่เดินจากวิทยุซีดี (หน้า) หรือเพาเวอร์แอมป์ (หลัง) ไปยังลำโพงคู่
หน้าและคู่หลัง ใช้ขนาดความยาวรวม ประมาณ 48 ฟุตหรือ 16 เมตร
• สายลำโพงที่เดินจากเพาเวอร์แอมป์ (หลัง) ไปยังชุดซับวูฟเฟอร์ ใช้ขนาดความ
ยาวรวมประมาณ 12 ฟุตหรือ 3.5 เมตร
3. ความยาวของสายไฟหลัก/สายกราวน์
• ขนาดความยาวของสายไฟหลักที่เดินจากแบตเตอรี่ไปยังเพาเวอร์แอมป์แต่ละตัว ที่
มักติดตั้งเอาไว้ในห้องสัมภาระท้ายรถ จะมีขนาดความยาวประมาณ 20 ฟุตหรือ 6
เมตร และจุดที่ทำการติดตั้งฟิวส์ป้องกันสายไฟหลักจะต้องอยู่ในช่วงสายไฟหลักที่นับจาก
ขั้วต่อแบตเตอรี่ไม่เกินกว่า 18 นิ้ว
• ความยาวของสายไฟกราวน์ จากเพาเวอร์แอมป์ลงกราวน์ ควรมีขนาดความยาวไม่
เกินกว่า 4 ฟุตหรือ 1.2 เมตร
• ขนาดความยาวของสายไฟรีโมท เพื่อควบคุมการเปิด/ปิดเพาเวอร์แอมป์จะมีขนาด
ความยาวประมาณ 16 ฟุตหรือ 5 เมตร ขนาดสายลำโพงที่เหมาะสมกับ
กำลังขับในระบบ
• ในการเลือกขนาดของเบอร์สายลำโพงที่จะนำไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะเทียบ
จากขนาดกำลังขับต่อแชนแนล หรือแต่ละช่องของตัวเพาเวอร์แอมป์
หรือภาคขยาย โดยมีหลักมาตรฐานในการเลือกขนาดของเบอร์สายลำโพงดังต่อไปนี้
• ระดับกำลังขับ 1-50 วัตต์ต่อช่องเลือกใช้สายลำโพงไม่ต่ำกว่าเบอร์ 16 Awg
หรือ 14 Awg
• ระดับกำลังขับ 50-150 วัตต์ต่อช่องเลือกใช้สายลำโพงไม่ต่ำกว่าเบอร์ 14 Awg
หรือ 12 Awg
• ระดับกำลังขับ 150 วัตต์ต่อช่องขึ้นไปเลือกใช้สายลำโพงไม่ต่ำกว่าเบอร์ 12 Awg
ขนาดสายไฟหลักที่เหมาะสมกับขนาดเพาเวอร์แอมป์
• การเลือกขนาดของเบอร์สายไฟหลัก ต้องคำนึงถึงหลัก 2 ประการ คือ ขนาดกำลังขับหรือ
อัตราการบริโภคกระแสของเพาเวอร์แอมป์ และระยะความห่างระหว่างแบตเตอรี่กับเพาเวอร์แอมป์ มี
หลักการพิจารณาดังต่อไปนี้
• อัตราการกินกระแสรวม 0-20 A ระยะความยาว 10-13 ฟุต (3-4 เมตร)
ใช้สายไฟหลักเบอร์ 10 Awg ระยะความยาว 19-22 ฟุต (6-7 เมตร) ใช้สายไฟ
หลักเบอร์ 8 Awg
• อัตราการกินกระแสรวม 20-35 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก
เบอร์ 8 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 6 Awg
• อัตราการกินกระแสรวม 35-50 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก
เบอร์ 6 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 4 Awg
• อัตราการกินกระแสรวม 50-65 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก
เบอร์ 4 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้
สายไฟหลักเบอร์ 4 Awg
• อัตราการกินกระแสรวม 65-85 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก
เบอร์ 4 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 2 Awg
• อัตราการกินกระแสรวม 85-105 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก
เบอร์ 2 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 2 Awg
• อัตราการกินกระแสรวม 105-125 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก
เบอร์ 2 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 0 Awg
• อัตราการกินกระแสรวม 125-150 A ระยะความยาว 3-4 เมตร ใช้สายไฟหลัก
เบอร์ 2 Awg ระยะความยาว 6-7 เมตร ใช้สายไฟหลักเบอร์ 0 Awg
เบอร์สายไฟกราวน์และความยาวที่เหมาะสม
• สายที่มีความจำเป็นและสำคัญมาก สำหรับการติดตั้งระบบเสียงรถยนต์อีกแบบ
หนึ่ง คือ สายไฟกราวน์ ซึ่งต้องคำนึงถึงการใช้งานมากพอๆ กับสายไฟหลัก โดยทั่วไปยึด
หลักที่ว่าสายไฟหลักที่เดินเข้าเพาเวอร์แอมป์ เลือกใช้เป็นเบอร์อะไร สายไฟกราวน์จากตัว
เพาเวอร์แอมป์ไปยังจุดกราวน์ก็ควรใช้เบอร์เดียวกันหรือใหญ่กว่า ห้ามใช้ขนาดต่ำกว่า
เบอร์สายไฟหลักเป็นอันขาด
ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องเอาใจใส่ก็คือ ระยะความยาวจากขั้วกราวน์ที่
เพาเวอร์แอมป์ไปยังจุดลงกราวน์ไม่ควรเกินกว่า 4 ฟุตหรือ 1.2 เมตร คือสายไฟกราวน์
ไม่ควรยาวเกินกว่า 1.2 เมตร ขนาดของสายไฟรีโมท ไม่ควรเลือกใช้
ขนาดของเบอร์สายไฟรีโมทต่ำกว่าเบอร์ 18 Awg เพราะอาจมีปัญหาในเรื่องของการไม่
สามารถป้อนจ่ายกระแสไปยังภาคสวิทชิ่งในตัวเพาเวอร์แอมป์ได้พอเพียง ผลกระทบที่
จับใจความได้คือ เพาเวอร์แอมป์ติดๆ ดับๆ สลับกันไป
หลักการจับใจความเสียงเพื่อเปรียบเทียบสาย
• ในบางครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกใช้ ‘สาย’ โดยเฉพาะสายนำสัญญาณที่มีคุณภาพดี
กว่า จึงอาจต้องมีการทดสอบเปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยใช้หลักในการจับใจความเปรียบ
เทียบทางด้านเสียงได้ดังต่อไปนี้
1. ให้ลดระดับความดังของชุดซับวูฟเฟอร์ลงจนหมด รวมไปถึงปุ่มปรับช่วยเสียงทุ้ม
(เบส) ให้ลดลงจนเป็นลบมากที่สุด จากนั้นเปิดเพลงที่คุ้นหูเพื่อฟังเปรียบเทียบการถ่าย
นำเสียงในย่านแหลมถึงแหลมสูง เพื่อจับใจความว่าสายนำสัญญาณเส้นไหนให้โน๊ตเสียง
ในย่านแหลมได้ใสสะอาด และให้ได้ถึง 20 kHz ได้จริงมากกว่ากัน โดยเปิดระดับความ
ดังในการฟังปกติ
2. ให้ลดระดับของปุ่มปรับช่วยเสียงแหลม (ทรีเบิ้ล) ให้ลดลงจนเป็นลบมากที่สุด พร้อม
คืนปุ่มปรับช่วยเสียงทุ้มกลับมาจุดกึ่งกลาง (0) จากนั้นเปิดเพลงเดิมที่ใช้ฟังในขั้นที่ 1
เพื่อจับใจความอีกครั้งหนึ่งว่าเสียงโน้ตเบสของสายเส้นไหนให้น้ำหนักและก
เสียงเบสได้สมบูรณ์กว่ากัน
3. ให้คืนปุ่มปรับช่วยเสียงแหลมกลับมาจุดกึ่งกลาง(0) ปลดปุ่มลาวน์เนส (ไม่ใช้งาน)
ปรับเพิ่มระดับความดังของชุดซับวูฟเฟอร์จนเหมาะสม จากนั้นให้ฟังใจความการแผ่ขยาย
ของระนาบเสียงจากลำโพงแต่ละด้าน (ซ้าย/ขวา) ว่าสายนำสัญญาณเส้นไหนมีอาณาเขต
ของการแผ่ขยายแนวระนาบได้ดีกว่ากัน
สายนำสัญญาณที่มีคุณภาพดีจะสามารถทำให้ขอบเขตของเสียงจากซ้าย
จรดขวาบรรจบซ้อนทับกันพอดีบริเวณกึ่งกลาง ซึ่งทำให้ผู้ฟังรู้ว่าเสียงไม่ได้มี
ทิศทางส่งออกมาจากตัวลำโพงแต่ละด้านแต่แผ่ขยายเป็นแนวกว้าง




หรือติดต่อเราทางเฟสบุ๊ค http://www.facebook.com/art789

กำลังไฟระบบเสียงจากรถยนต์ by A.P. คาร์ออดิโอสี่แยกบ้านนาเดิมstereo best shop in , Surat Thani , touch [ cheap ] , and good , have here that one , สายเอเซีย ตรงข้ามปั้มใบจาก ข้างอู่สมบูรณ์ สุราษฎร์ธานี

จากกำลังขยายเพียงแค่ไม่กี่วัตต์ในสมัยก่อน กลายมาเป็นกำลังขยายในระดับ
พัน-สองพันวัตต์ในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ผู้คนทั้งหลายต่างมองข้ามกันไป
ก็คงเป็นเรื่องของ กำลังไฟ ที่จะป้อนจ่ายให้กับอุปกรณ์ระบบเสียง
หลายท่านไม่ทราบว่าจะต้องคำนวณการกินกระแสของระบบได้อย่างไร
หลายท่านไม่รู้ว่ากระแสไฟที่มีของรถคันนั้นๆ เพียงพอต่อความต้องการ
ของระบบเสียงหรือไม่ ซึ่งแท้ที่จริงสิ่งนี้ละ...คือกลยุทธที่สำคัญ
ของระบบเสียงรถยนต์ปัจจุบัน
ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านระบบเสียงรถยนต์มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก
อัลเตอเนเตอร์ (Alternator)
• อัลเตอร์เนเตอร์ ก็คือตัวปั่นไฟที่มีติดตั้งอยู่ในรถยนต์ทุกคัน ทำหน้าที่ปั่นไฟเพื่อเข้าไปเก็บกัก
เอาไว้ใช้งานในตัวแบตเตอรี่
โดยปกติอุปกรณ์จำเป็นมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์นั้น มีอัตราการกินกระแสที่เป็นสัดส่วน
ดังต่อไปนี้ (เป็นอัตราเฉลี่ยในรถขนาดแตกต่างกัน ถ้ารถขนาดใหญ่ก็อาจกินกระแสมากกว่ารถ
ขนาดเล็ก)
- ไฟหน้าใหญ่ 15-20 A
- ไฟป้อนเข้าระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์ 10 A
- ไฟสำหรับที่ปัดน้ำฝน 15-20 A
- ไฟดวงต่างๆ 1 A ต่อหลอด
- ไฟสำหรับระบบปรับอากาศ 25-35 A
ถ้าเราเป็นนักสังเกตบ้างเล็กน้อยเมื่อถอยรถออกจากโชว์รูม จะเห็นได้ว่าแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมา
กับรถนั้น มีขนาดแค่พอเหมาะประมาณ 35-45 แอมแปร์ นั่นก็เพราะเขาคิดมาตรฐานเอาจากค่า
การใช้กระแสมาตรฐานจากไฟหน้า, ไฟระบบเครื่องยนต์ และไฟอื่นๆ โดยบางครั้งยังไม่นับรวมถึง
ไฟที่ใช้สำหรับระบบปรับอากาศด้วยซ้ำไป
เวลาใช้รถตอนกลางคืนที่ฝนตกหนักๆ แค่เปิดไฟหน้าและที่ปรับน้ำฝนพร้อมกับระบบปรับ
อากาศ จะสังเกตเห็นไฟหรี่ภายในรถมีอาการวูบวาบแล้ว บางท่านที่พอรู้เรื่องรู้ราวบ้างก็จัดการ
เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 50-65 แอมแปร์ อาการดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
การเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้นอาจถูกต้องในบางเรื่องแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะจะต้องคำนึงถึง
‘ไดชาร์จ’ หรืออัลเตอเนเตอร์ด้วย ถ้าไดชาร์จมีขนาดแรงดันกระแสขาออกแค่เพียง 35 A
โดยทางทฤษฎีมันจะมีความเหมาะสมเพื่อใช้กับแบตเตอรี่ขนาด 35 A เท่านั้น ถ้าใช้แบตเตอรี่
เพิ่มเป็นขนาด 50 A ไดชาร์จจะต้องทำอย่างหนักเพื่อพยายามเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่ 50 A โดย
ไม่มีการเรียกใช้ไฟจากระบบไฟรถยนต์เลย
ถ้ายังต้องเปิดไฟหน้า หรือเปิดเครื่องปรับอากาศในระหว่างที่ไดชาร์จกำลังเติมไฟ
ให้แบตเตอรี่ กระแสไฟที่แบตเตอรี่ก็จะไม่มีวันเต็มได้เลย ถ้าคิดอัตราเฉลี่ยในการเติมไฟแบตเตอรี่
ของไดชาร์จโดยไม่มีการโหลดจากระบบไฟรถยนต์ ไดชาร์จขนาด 35 A จะเติมไฟให้
เต็มแบตเตอรี่ขนาด 50 A ได้ในเวลาเกือบๆ2 ชั่วโมง
ซึ่งแน่นอนว่าขณะที่ทำการปั่นไดชาร์จด้วยเครื่องยนต์เพื่อเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่
ระบบเครื่องยนต์ก็จะกินไฟ 10 A อยู่ตลอดเวลา ระยะเวลาจึงยิ่งนานเข้าไปอีก ยิ่งถ้ามี
การเปิดระบบปรับอากาศด้วยก็ยิ่งนานขึ้นอีก

การเพิ่มขนาดของแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช้ทางแก้ปัญหาการเรียกกำลังไฟ
จากรถยนต์ที่ถูกต้อง โดยปกติเราต้องใช้ไดชาร์จที่มีขนาดกระแสขาออกได้มากกว่าความต้องการของ
กระแสรวมประมาณ 20% และ 40-50% ถ้าค่ากระแสขาออกนั้นบอกมาในหน่วย Cold
ในความเป็นจริง ขนาดกระแสขาออกของ ‘ไดชาร์จ’ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ค่า คือค่า
เอาท์พุทในแบบ ‘Hot’ และค่าเอาท์พุทในแบบ ‘Cold’ โดยค่าแบบ Cold เป็นสภาวะที่
ยังไม่มีการต่อโหลด และค่าแบบ Hot เป็นสภาวะที่ต่อโหลดแล้วและมอเตอร์เริ่มหมุน
ไดชาร์จทั่วไปที่บอกค่ากระแสขาออกไว้ตัวเลขเดียว จะเป็นค่าแบบ Cold ซึ่งเมื่อ
Hot จะมีขนาดกระแสขาออกต่ำกว่าอยู่ประมาณ 15% และถ้าเป็นไดชาร์จที่มีมาตรฐานพอ
ก็จะบอกค่านี้มาให้ทราบทั้งสองค่าคราวนี้เรามาพูดกันถึงความต้องการ
ทางกระแสของระบบเสียงกันบ้าง ซึ่งความถูกต้องของการจัดวางระบบไฟให้กับระบบ
เสียงนั้น จะต้องแยกอิสระจากแนวเส้นทางไฟของรถยนต์เอง โดยมีการคิดคำนวณอัตรา
กินกระแสดังต่อไปนี้ คำนวณคิดจากสูตร (Total Power (Rms) X 2) /Dc Volts
กำลังวัตต์รวมRms (Watts)
จำนวนกระแสที่ใช้ (A) เมื่อขับเต็มกำลัง
25041.60
50083.30
1000166.60
1500250.00
2000333.30
2500416.60
3000500.00
3500583.30
4000666.60











ในการใช้กำลังไฟของระบบเสียงจากแบตเตอรี่ลูกเดียวกันกับที่ติดตั้งไว้ในห้อง
เครื่อง มักจะต้องนำเอาค่ากระแสของอุปกรณ์ต่างๆ ในรถยนต์เข้ามารวมด้วย จึง
จะสามารถหาจำนวนกระแสที่เหมาะสมได้ค่ากระแสที่ระบบเสียงใช้นั้นคำนวณ
เมื่อเพาเวอร์แอมป์ทำงานเต็มกำลังวัตต์ ซึ่งในความเป็นจริงของการฟังเพลงโดยส่วนใหญ่
จะใช้กำลังวัตต์เพียง 50-70% จึงหมายรวมถึงการเรียกใช้กระแสไฟจริงๆ แค่ประมาณ
50-70% เช่นกัน เช่น กำลังวัตต์ 500 วัตต์ Rms กระแส 83.30 A แต่เมื่อฟังเพลงจริงๆ
อาจต้องการกระแสแค่ 42-58 A (แอมแปร์) ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะใช้แบตเตอรี่เดิมของรถยนต์ได้
ถ้าเป็นแบตเตอรี่ในระดับ 65-70 A โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขนาดไดชาร์จของ
รถนั้นอยู่ในช่วง 75-80 A ก็ถือว่าสามารถใช้งานกับระบบเสียงได้โดยเลือกขนาดสาย
แรงดันไฟ/สายกราวน์ให้ถูกต้องการคำนวณกำลังวัตต์รวมจากเพาเวอร์แอมป์นั้น
หากต้องการความถูกต้องด้านกระแส จะต้องใช้กำลังวัตต์ที่เกิดขึ้นจริงๆ มา
คำนวณ เช่น ตัวอย่างระบบเสียงระบบหนึ่ง ที่ใช้เพาเวอร์แอมป์ Mps-2240 จำนวน 2 เครื่อง
ตัวแรกขับซับวูฟเฟอร์ 4 โอห์ม 4 ตัว (ต่อรวมกันที่อิมพีแดนซ์ 1 โอห์ม) ตัวที่สอง
ใช้ขับลำโพงกลาง/แหลม 16 ตัว (ต่อรวมกันที่อิมพีแดนซ์ ? โอห์ม) ทำให้ระบบนี้มีกำลัง
รวมในระบบที่ 96 วัตต์ และมีไดนามิคเพาเวอร์ 1200 วัตต์ ดังนั้นหากคิดค่ากระแส
จากพื้นฐานของวัตต์ก็จะได้เป็น (96 X 2) /12 = 15.3 A
แต่ถ้าคิดที่วัตต์จริงๆ จะได้เป็น (1200 X 2)/12 = 200 A ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่าง
มาก จึงจำเป็นต้องคำนวณหาจากวัตต์ที่แท้จริงไม่ใช่วัตต์ตามสเปค
เพื่อให้ได้ค่าความต้องการทางกระแสที่ถูกต้องของระบบเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ
เพาเวอร์แอมป์ในแบบกระแสสูง (HighCurrent) ที่ต้องคำนึงเรื่องนี้เป็นพิเศษ
การทดสอบกำลังไฟ
• ถ้าเราต้องการทราบว่าไฟที่จ่ายให้กับระบบเสียงของเรานั้นพอเพียงหรือไม่
สามารถกระทำได้โดยการวัดจาก VOM(Volt-Ohm-Meter) โดยเริ่มวัดแบตเตอรี่
ทั้งในขณะที่ติดเครื่องยนต์และไม่ติดเครื่องยนต์ แล้วอ่านค่าทั้งสองสภาวะนี้เก็บเอาไว้

จากนั้นจึงย้ายไปวัดที่ขั้ว B+ ตรงเพาเวอร์แอมป์ ก็จะได้ค่าแรงไฟมาตัวเลขหนึ่ง
เมื่อรวมกันแล้วความแตกต่างควรจะมีประมาณ ? โวลท์ หรืออย่างมากก็ไม่ควรเกิน
1 โวลท์ กรณีนี้ถ้าคำนวณขนาดของสายไฟแรงดันถูกต้องความแตกต่างจะยิ่งน้อยกว่านี้
จากนั้นให้เปิดใช้ระบบเสียงในระดับความดังที่คิดว่า ‘ดังมากพอ’ แล้ววัดที่ขั้ว
B+ ตรงเพาเวอร์แอมป์อีกครั้ง ถ้าเข็มมิเตอร์เต้นตามจังหวะของเพลง, ไฟบนหน้าปัดวิทยุ
มีอาการกระพริบ นั่นเป็นหลักฐานชี้ชัดว่าไฟในรถมีอาการไม่พอเพียง
แต่ถ้าหากมีการลดลงของเข็มวัดน้อยกว่า 1/10 โวลท์ ก็ถือเป็นปกติไม่ต้องพะวง
มากนัก ซึ่งไฟที่ลดลงนั้นอาจมีผลมาจาก
1. สายไฟแรงดันที่ขั้วบวก หรือขั้วลบที่ลงกราวน์ อาจมีขนาดเล็กเกินไปเมื่อ
เทียบกับจำนวนของกระแสที่ไหลผ่าน
2. เกิดอิมพีแดนซ์อย่างรุนแรงในจุดต่อยึดบางจุดของสายไฟแรงดัน/หรือขั้ว
กราวน์ อาทิ ขั้วแบตเตอรี่เสื่อม, มีการต่อสายไฟแรงดันอย่างหลวมๆ ไม่บัดกรี, ขันหัว
ขั้วแบตเตอรี่ไม่แน่น, ยึดหัวขั้วไฟกราวน์ไม่แน่น, ไม่ขูดสีตัวถังให้สะอาด หรือกราวน์ไม่
สมบูรณ์
3. ขนาดของแบตเตอรี่ไม่เพียงพอที่จะจ่ายกระแสไฟให้กับระบบเสียง หรือมี
ความจะของกระแสที่แบตเตอรี่น้อยเกินไป
4. แบตเตอรี่มีการคายประจุที่เร็วมาก (ผิดปกติ) หรือไม่ก็แผ่นแซลใน
แบตเตอรี่เกิดความเสียหาย (เปลี่ยนใหม่)แล้วเช็คด้วย VOM อีกครั้ง
5. แบตเตอรี่มีขนาดพอเพียงกับการจ่ายกระแส แต่ว่าตัว ‘ไดชาร์จ’ ให้ขนาด
กระแสขาออกน้อยเกินไป หรือไม่สามารถจ่ายกระแสได้มาพอต่อการประจุแบตเตอรี่ให้
เต็มได้ กรณีแบบนี้ค่าแรงดันที่วัดได้จากแบตเตอรี่จะต่ำกว่า 12 โวลท์ เมื่อทำการ
ตรวจวัดในขณะดับเครื่องยนต์
ABC กำลังไฟของระบบเสียง
• นี่ไม่ใช่รหัสของสินค้า แต่เป็นอักษรย่อของส่วน 3 ส่วนที่เกี่ยวพันธ์กับกำลังไฟ เป็น
ขุมพลังไฟที่นำมาใช้ป้อนให้กับระบบเสียงที่สมบูรณ์แบบ อันได้แก่
A = Alternator
อัลเตอเนเตอร์หรือไดชาร์จ
ปั่นกำลังไฟจ่ายให้ระบบ
B = Battery
แบตเตอรี่ เก็บกักรักษากำลังไฟ
C = Capacitor
คาปาซิเตอร์ สำรองจ่ายกำลังไฟให้เหมาะสม ซึ่ง ถ้าหากมันทั้งสามทำงานร่วม
ประสานกันอย่างสอดคล้องแล้ว รับรองได้เลยว่าคุณภาพเสียงที่เกิดขึ้นนั้นจะสมบูรณ์
สูงสุดอย่างแน่นอน
(A) ไดชาร์จที่ให้กระแสสูง
• เมื่อสักประมาณ 7-8 ปีล่วงมาแล้วบรรดารถพลังเสียงหลายคันต่างหันมาเปลี่ยน
ไดชาร์จจากเดิมๆ ที่ติดมากับรถเป็นแบบที่ให้กระแสไฟได้สูงแทน โดยมีทั้งการนำไดชาร์จ
จากรถที่มีขนาดเครื่องยนต์ใหญ่กว่ามาใช้หรือไม่ก็ใช้เทคนิคการพันขดลวด
ทดแทนในทุนอันเดิมเพื่อให้จ่ายกระแสไฟได้มากกว่า ในรถยุคปัจจุบันไดชาร์จหลายๆ ตัว
มีการทำงานอัตโนมัติที่จะหยุดการทำงานเมื่อมีการเร่งเครื่อง และทำงานอีกครั้งเมื่อรถ
หยุด (แต่เครื่องยนต์ติดอยู่)

จึงอาจต้องระวังเรื่องนี้ในการสับเปลี่ยนไดชาร์จ นอกจากนั้นยังพบว่าไดชาร์จและ
การประจุกำลังไฟของรถยนต์มีความแตกต่างกันในรถแต่ละคัน บางระบบสามารถจ่าย
กระแสออกมาได้เต็มที่เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่บางระบบจะจ่ายกระแสก็ต่อเมื่อ
เครื่องยนต์มีรอบปั่นสูงๆ ซึ่งความแตกต่างนี้ ก็เป็นอีกเรื่องที่พึงระวัง
โดยหลักการแล้วไดชาร์จถูกคิดค้นและสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อผลิตและแจกจ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ เมื่อเครื่องยนต์
เริ่มทำงาน
2. เพื่อจ่ายกระแสไฟไปกักเก็บเอาไว้ที่แบตเตอรี่ เพื่อนำกลับมาใช้ในสตาร์ต
เครื่องยนต์
เราสามารถอธิบายถึงลักษณะการทำงานของไดชาร์จไดด้วยทฤษฎีพื้นฐานทาง
อีเล็กโทรนิกได้ว่ากระแสไฟจะไหลจากแหล่งกำเนิดที่มีค่าศักยภาพสูงที่สุดไปยังจุดที่มีศักยภาพต่ำ
ที่สุดซึ่งคล้ายกับน้ำที่จะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำดังนั้นเพื่อให้เรามั่นใจถึงการประจุไฟให้กับ
แบตเตอรี่ได้อย่างเต็มที่นั้น เราจะต้องรักษาระดับแรงดันไฟขาออกของไดชาร์จให้สูงกว่า
ค่าปกติของแบตเตอรี่ ซึ่งก็คือ 12.8 โวลท์และด้วยวิธีนี้แบตเตอรี่จะไม่ถูกใช้งาน
จนกว่าจะมีการสตาร์ตเครื่องยนต์อีกครั้งหนึ่งและนี่คือ”แก่นการทำงานของระบบไฟฟ้าใน
รถยนต์”นั่นเอง
ค่า Set Point ของไดชาร์จ
• โดยทั่วไปแล้วระดับแรงดันไฟของได-ชาร์จนั้นจะนิยมตั้งกันไว้ที่ 14.4โวลท์ เพื่อ
รักษาสภาพการทำงานที่ถูกต้อง โดยกำหนดให้มีความต่างศักย์ประมาณ 1.6 โวลท์ เพื่อ
เอาชนะค่าความต้านทานในตัวแบตเตอรี่เองและเมื่อมีการจ่ายกระแสจนถึงจุดสูงสุด
ของมันแล้ว ตัวไดชาร์จก็จะหมดหน้าที่ไปชั่วคราวและเป็นหน้าที่ของแบตเตอรี่ที่จะ
ทำการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถหรือระบบเสียงต่อไป
ตัวอย่างเช่น เราใช้ไดชาร์จที่จ่ายแรงดันไฟได้ 14.4 โวลท์ที่กระแส 100 A (แอม-
แปร์) ซึ่งหมายความว่า หากบรรดาอุปกรณ์ทั้งหมดในรถนั้นถูกใช้งานในความต้องการ
กระแสรวม 99.9 A แล้วละก็ ไดชาร์จตัวนี้จะสามารถจ่ายกำลังไฟให้ได้ทั้งหมดอย่าง
ทั่วถึง
แต่ถ้าหากว่าความต้องการทางกระแสของอุปกรณ์ (Load Demand) นั่นอยู่ที่
100.1 A แล้วละก็ มันก็จะเกิดค่า Set Point ของไดชาร์จ และส่วนที่เกินมาอีก 0.1A
นั้นจะเป็นภาระหน้าที่ของแบตเตอรี่ที่จะต้องจ่ายเสริมเข้าไปให้ครบ
และหากสถานการณ์เช่นนี้ยังคงเป็นต่อไปประมาณอีก 10 นาที ไฟในแบตเตอรี่ก็
จะค่อยๆ หมดลง ตัวไดชาร์จก็จะทำงานหนักและร้อนเกินขีดจำกัด (Overload) ซึ่ง
จุดนี้เองที่จะเริ่มทำให้มีความเสียหายที่ไดชาร์จเกิดขึ้น
ถ้าหากว่าเราไม่สามารถรักษาระดับของ Set Point ของไดชาร์จไว้ได้อย่างตัวอย่าง
ข้างต้น ก็มีทางออกอยู่ 2 ทางด้วยกันคือ
1. ลดค่าภาระ (Load) ลงมา การลดค่าภาระลงนั้น ก็เช่นการลดระดับความดัง
ของการฟังเพลงลง เมื่อเปิดใช้ระบบปรับ
อากาศ เมื่อเปิดไฟหน้า หรือใช้เพาเวอร์-
แอมป์ที่มีกำลังวัตต์ลดลง
2. เพิ่มค่ากระแสของไดชาร์จให้สูงขึ้น ก็หมายถึงการเปลี่ยนตัวไดชาร์จใหม่

(B) แบตเตอรี่ก็เป็นภาระเช่นกัน
• แบตเตอรี่นั้นจะกลายเป็นภาระของระบบไฟได้ในทันทีที่คุณสตาร์ตเครื่องยนต์
เหตุก็เพราะแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในระบบไฟนั่นเอง ดังนั้นถ้าเรามีการเพิ่มขนาด
แบตเตอรี่หรือเสริมแบตเตอรี่ลูกที่สองเข้าไปในระบบ ก็หมายถึงการเพิ่มภาระให้กับ
ไดชาร์จ จะโหดร้ายเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับภาระที่เพิ่มนั้น
ถ้าระบบเสียงในรถของท่านต้องการกระแสที่มากเกินกว่าค่า Set Point ของ
ไดชาร์จ และต้องการกระแสบางส่วนเพิ่มจากแบตเตอรี่ ต้องให้มั่นใจได้ว่าแบตเตอรี่
สามารถจ่ายกระแสได้เหมาะสมการเพิ่มแบตเตอรี่ลูกที่สองเข้าไปนั้น
จริงๆ ไม่ได้เพิ่มค่ากระแสให้กับระบบเสียงเท่าใดนัก มีการทดลองใช้พ่วงไปถึงลูกที่สาม
แต่ค่าแรงดันไฟเพิ่มขึ้นเพียง 0.5 โวลท์เท่านั้น เมื่อใช้กับภาระทางกระแสที่ประมาณ
200 Aในการพ่วงแบตเตอรี่ลูกที่สองนั้น ควรจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า ‘ตัวแยกภาระ’
(Isolator) ต่ออยู่ในวงจรของไดชาร์จ และไม่ควรใช้แบตเตอรี่เกินสองลูกกับไดชาร์จหนึ่งตัว
โดยแบตเตอรี่ทั้งสองนั้นจะต้องมีคุณสมบัติเหมือนกัน/ความจุแอมแปร์เท่ากัน
การต่อแบตเตอรี่ลูกที่สามควรใช้ไดชาร์จแยกไปอีกตัวหนึ่ง ทั้งหมดเพื่อมิให้
ไดชาร์จต้องรับภาระหนักเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความเสื่อมของไดชาร์จอย่างรวดเร็ว

(C) คาปาซิเตอร์ เพื่อเสริมการเก็บ/จ่ายไฟ
• ถ้าจะจำกันได้บ้าง หลายท่านคงเคยได้รับการเล่าให้ฟังถึงการนำเอาคาปาซิเตอร์
แบบอีเล็คโทรไลติค (Electrolytic Capacitor) มาช่วยในเรื่องกำลังไฟ
คาปาซิเตอร์ที่มีค่าความจุสูงๆ นี้จะช่วยเสริมในการเก็บและจ่ายกระแสไฟให้กับ
ระบบได้อย่างรวดเร็วมาก ซึ่งถือเป็นความจำเป็นสำหรับคุณภาพเสียงอย่างมาก ในช่วง
ที่มีความต้องการทางกำลังไฟสูงๆ ปัจจุบันคาปาซิเตอร์ขนาดใหญ่ มีเสถียรภาพ
การทำงานที่ดีและมีราคาไม่สูงช่วยให้ระบบเสียงที่ดีมีการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
แต่คงไม่มีผลนักกับระบบเสียงที่ไม่ดี
สำหรับระบบเสียงตั้งแต่ 100-1,000วัตต์ ควรจะใช้ในขนาดความจุ 1 ฟารัด
(Farad) และระบบเสียงตั้งแต่ 1,001 วัตต์ขึ้นไป ก็ให้ใช้ 1 ฟารัดต่อ 1000 วัตต์
การเพิ่มพลังไฟให้กับระบบเสียง
• คำว่า ‘พลัง’ นั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งและยากที่จะอธิบายให้เห็น
ภาพชัดเจน แต่การเพิ่มหรือลดพลังนั้นให้ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
และสัมผัสได้ ดังนั้นการเพิกเฉยต่อการ ‘เพิ่มพลังไฟ’ ให้กับระบบเสียง
นั้น จะเป็นการลดทอนประสิทธิภาพที่แท้จริงลงอย่างน่าเสียดาย
สภาพรถยนต์โดยทั่วป จะมีปริมาณของกระแสไฟที่เหลือจากการ
ใช้งานประจำของรถนั้นอยู่เพียง 20-30 แอมป์ ซึ่งหากเป็นระบบเสียงที่
ติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ตัวกลางๆลงไป 1-2 ตัว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
มากนัก แต่ถ้าเป็นระบบใหญ่ๆ ที่มีเพาเวอร์แอมป์กำลังขับสูงๆ อาการ
พลังไฟไม่พอก็อาจเกิดขึ้นได้
ในระบบเสียงที่มีกำลังวัตต์เกินกว่า 500 วัตต์ (RMS) นั้น อาจ
ต้องใช้แนวทางของการเพิ่มแบตเตอรี่ลูกที่สองในการสำรองไฟให้พอ
เพียงต่อกำลังวัตต์ ถ้าระบบเสียงนั้นไม่มีกระแสไฟที่เพียงพอ ไม่ว่า
เพาเวอร์แอมป์จะยี่ห้อดังหรือแพงโคตรปานใด ก็จะมีขีดจำกัดในการขับ
กำลังด้วยกันทั้งสิ้น
เปรียบไปก็คล้ายรถยนต์ที่มีน้ำมันเต็มถัง แต่ไม่สามารถชนะการ
แข่งขันได้ เพียงเพราะว่าระบบหัวฉีดน้ำมันบกพร่อง ดังนั้นถ้า
เพาเวอร์แอมป์ไม่ได้รับกระแสไฟที่เพียงพอมันก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่
และสุดท้ายอายุการใช้งานอาจสั้นลงด้วยซ้ำไป
การเพิ่มกำลังไฟด้วยฟิวส์ที่ถูกต้อง
• ช่างติดตั้งที่เป็นมืออาชีพและมีความรู้ทางเทคนิคที่ดีจะเรียนรู้เรื่อง
ของกำลังไฟในระบบเสียงรถยนต์เป็นสำคัญ เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหา
และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น
จุดที่อันตรายและต้องระวังมากที่สุดจุดหนึ่งในการนำกำลังไฟมาใช้
กับเพาเวอร์แอมป์ก็คือการวางตำแหน่งของกล่องฟิวส์ (Fuse Block)
ซึ่งไม่ว่าจะวางไว้ตอนหน้าในห้องเครื่อง หรือด้านหลังในห้องสัมภาระ
สัมภาระ จะต้องใช้ให้ถูกแบบและขนาด โดยศึกษาชนิดและประเภทของ
ฟิวส์ให้ชัดเจนดังนี้

ประเภทของฟิวส์ความสามารถในการรองรับกระแส

AGCรับได้ถึง 35 A
ATO / ATCรับได้ถึง 40 A
AGUรับได้ถึง 60 A
MAXIรับได้ 20 - 80 A
ANLรับได้ 60 - 250 A
MEGAรับได้ 100 - 250 A
BREAKERรับได้ 80 - 300 A

นอกจากนี้เพาเวอร์แอมป์ที่ต้องการกระแสไฟสูงๆ จะทำให้กล่อง
ฟิวส์ทำงานหนักเกินสภาพปกติ และเป็นเหตุให้เกิดการนำไฟผิดปกติตั้ง
แต่ต้น หรืออาจร้อนจนละลาย
ดังนั้นการเลือก ‘กล่องฟิวส์’ ที่ถูกแบบถูกประเภทจะเท่ากับ
เป็นการเพิ่มกำลังไฟให้ระบบ ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือการต่อสายไฟแรงดัน
ตรงเข้าหาแบตเตอรี่ โดยมีฟิวส์ต่ออยู่ตรงกลางห่างจากแบตเตอรี่ไม่เกิน
18 นิ้ว
ตำแหน่งของฟิวส์ถือเป็นกุญแจสำคัญ ซึ่งในบางระบบอาจใช้
‘เบรกเกอร์’ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง และสามารถป้องกันความเสียหายที่
จะเกิดขึ้นจากการลัดวงจรได้ดี พึงระลึกไว้เสมอว่าการใช้ฟิวส์หรือ
เบรกเกอร์เป็นการป้องกันเพาเวอร์แอมป์ และอุปกรณ์อื่นๆไม่ให้ทำงาน
ผิดพลาดและไม่เสียหายได้ในทุกๆกรณี
การเพิ่มกำลังไฟด้วยขนาดสายไฟที่ถูกต้อง
• สายไฟแรงดัน/สายไฟกราวน์ ถือเป็นแหล่งกำลังไฟที่มหาศาล
สำหรับระบบเสียงรถยนต์ การใช้สายไฟแรงดันที่ผิดขนาดจนก่อให้เกิด
ความร้อนสะสม มีผลทำให้แรงดันไฟที่ไหลผ่านในสายถูกต่อต้านอย่าง
รุนแรง
ผลก็คือกระแสไฟที่ปลายทางตกลงเกินกว่าครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ยัง
รวมถึงคุณภาพของเส้นทองแดงภายในสาย ที่จะต้องมีจำนวนตรงตาม
ขนาดเบอร์ที่ระบุ มิใช่ความหนาแค่เปลือกนอกเพียงอย่างเดียว ดังตาราง
ขนาดสายต่อไปนี้
ขนาดเบอร์สายไฟ
(AWG)
พื้นที่หน้าตัด
(mm)
ความต้านทาน
(0/1000 ft)
200.102213.700
180.16246.500
160.25835.150
140.41073.200
120.65302.020
101.03801.000
81.65100.734
62.62500.459
44.17400.290
26.69700.185
18.36900.151
010.55000.117
0013.31000.092
00016.78000.075
000021.16000.059
ขนาดสายเหล่านี้วัดเป็น ‘Gauge’ หรือ ‘เกจ์’ ซึ่งเทียบตาม
มาตรฐานของอเมริกาที่เรียกว่า ‘American Wire Gauge’ หรือ AWG
เรียกกันง่ายๆว่า ‘G’ โดยค่า Gauge ที่น้อย ขนาดสายจะใหญ่ขึ้นและ
นำกระแสได้มากขึ้น
ขั้นตอนการหาขนาดสายที่เหมาะสม เริ่มด้วยการหาค่ากระแส
สูงสุดที่วิ่งผ่านสายนั้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. รวมกำลังขับจากเพาเวอร์แอมป์ทุกตัวเข้าด้วยกัน
(ค่าเป็นวัตต์ RMS) ก็จะได้เป็น
Total Power Out =? x IJ
เมื่อ I = เพาเวอร์แอมป์ตัวใดๆในระบบ
J = จำนวนช่องสัญญาณในแอมป์แต่ละตัว
2. จากนั้นจึงนำผลในขั้นที่ 1 มาคำนวณหาจำนวนของ ‘กำลังขาเข้า’
ที่ต้องป้อนให้กับระบบ มีหน่วยวัดของกระแสเป็นแอมแปร์ (A)
คำนวณได้จากการนำผลในขั้นที่ 1 มาหารด้วยค่าประสิทธิภาพ
เฉลี่ยของเพาเวอร์แอมป์ในระบบ ก็จะได้เป็น
Input Power = Power Output/Efficiency
ซึ่งค่าหารหรือประสิทธิผลนี้ก็จะพิจารณาเรื่องของ Class
ที่ใช้ในการวงจรขยาย เพราะจะมีค่าไม่เท่ากัน ใน Class AB
สามารถใช้ค่า 50% ได้ (Class A=25%, Class B=78%,
Class AB=50%, D=90%, Class T=90%)
ในการหาค่ากำลังขาเข้าของแอมป์แต่ละตัว ซึ่งถ้านำมาคิดรวม
เป็นค่าแอมป์ทุกตัวก็ได้เป็น
Total Input Power =? Input Power x I
3. ผลลัพท์ที่ได้นี้อยู่ในรูปแบบของกระแส ซึ่งจะต้องเอาค่าแรงดันไฟ
ของระบบไปหาร ก็จะได้เป็น
Total Current = Total Input Power/Voltage
4. ถึงช่วงนี้ขั้นตอนจะซับซ้อนอีกเล็กน้อย เพราะในการเดินสายจริงๆ
ค่าความต้านทานจะทำให้แรงดันตกลง อันเป็นการสูญเสียในรูป
ของความร้อน วิธีแก้ก็คือใช้สายขนาดใหญ่ขึ้น ค่าเฉลี่ยของแรงดัน
ที่ตกลงนี้มีประมาณ 0.5 โวลท์ ซึ่งจะหาความต้านทานภายใน
ได้จากสูตร
Total Resistance = Voltage Drop/Total Current
5. ค่าที่ได้จะบอกว่าสายในระบบมีความต้านทานรวมเท่าไหร่
แต่ก็ไม่อาจใช้เป็นประโยชน์ได้ จำต้องหารออกมาเป็นเมตร
หรือฟุต หรือนิ้ว โดยเราจะสมมุติให้เป็น ‘ฟุต’ และความยาวเฉลี่ย
ของการเดินสายแรงดันไฟในรถยนต์จะอยู่ที่ประมาณ 20 ฟุต
Resistance Per Foot = Total Resistance/length
และขนาดการกินกระแส ที่สัมพันธ์กับระยะทางการเดินสาย
จะเลือกขนาดสายแรงดันไฟได้จากตารางนี้

และตารางการหาค่าฟิวส์จากอัตรากำลังขับของเพาเวอร์แอมป์ดูได้จากตารางนี้

การเพิ่มจำนวนแบตเตอรี่
• มีปัจจัยอยู่บางประการเพื่อความปลอดภัยที่จะต้องพิจารณาเมื่อ
เลือกใช้ โดยเฉพาะการเดินสายไฟในส่วนของสายกำลังไฟ (Power
Cable) ผ่านตัวถังรถ
วิธีการที่ดีที่สุดที่จะให้แบตเตอรี่ที่ใช้ร่วมกันนั้นมีประสิทธิภาพก็คือ
‘การต่อขนานกัน’ เพราะจะได้ค่าแรงดันไฟที่คงเดิม ในขณะที่สามารถ
เพิ่มกระแสได้เป็นเท่าตัว เพาเวอร์แอมป์จึงมีโอกาสทำงานเต็ม
ประสิทธิภาพ
สำหรับแบตเตอรี่ตัวที่สองนั้น ถือว่าสำคัญไม่น้อย อย่างแรกมัน
ต้องไม่อยู่ในห้องโดยสาร ซึ่งอาจลำบากอยู่บ้างสำหรับรถท้ายลาดหรือ
รถแวน ตำแหน่งที่เหมาะสมมากที่สุดมักจะอยู่ในห้องเครื่องยนต์ หรือไม่
ก็ในห้องสัมภาระท้ายรถ หรือส่วนอื่นๆที่แยกออกเป็นอิสระจากห้อง
โดยสารหรือห้องคนขับ
แบตเตอรี่ตัวที่สองนี้จะต้องยึดแน่นอยู่กับถาดวางแบตเตอรี่
(Batter Box) ต้องแน่นหนา มั่นคง และไม่มีการขยับเขยื้อน
การพิจารณาถึงขนาดของแบตเตอรี่ ที่จะต้องคำนึงถึงคือวิธีการต่อ
เพิ่ม หากเป็นแบบขนานกันควรพิจารณาใช้แบตเตอรี่ขนาดเดียวกันทั้ง
สองตัว ทั้งในเรื่องของ ‘คุณสมบัติ’ และค่า CCA:Cold Cranking
Amps เพราะจะช่วยให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ทั้งสองอยู่ได้นาน
หากใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาดแตกต่างกัน ปัญหาการชาร์จประจำหรือ
กระแสจะเกิดปัญหาขึ้นทันที ตัวอย่างเช่น หากใช้แบตเตอรี่ตัวแรกเป็น
ขนาด 450 CCA และอีกตัวหนึ่งขนาด 800 CCA แบตเตอรี่ตัวแรก
(450 CCA) จะสิ้นอายุการใช้งานก่อน และการดึงไฟทั้งระบบจะไป
ภาระอยู่ที่แบตเตอรี่ตัวที่สองทันที
ในกรณีที่แบตเตอรี่ตัวที่สองถูกติดตั้งในห้องสัมภาระท้ายรถ
จำเป็นต้องมีฟิวส์ต่อเชื่อมอยู่ระหว่างแบตเตอรี่ทั้งสองตัวนั้น และทุกส่วน
ที่จะต้องผ่านตัวถังรถไปยังจุดต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายจากการ
ลัดวงจร
ถ้าหากเป็นการใช้ ‘ตัวแยกภาระ’ ร่วมกับระบบไดชาร์จ ก็ไม่ต้อง
เชื่อมฟิวส์ เพราะเมื่อระบบยังไม่ได้ใช้งาน ตัวแยกภาระจะตัดการทำงาน
ของตัวมันเองอยู่แล้ว
มีข้อควรจำไว้ว่า การนำตัวแยกภาระมาใช้ในระบบเสริมแบตเตอรี่
ค่าแรงดันจะลดลงโดยประมาณ 1-1.5V เมื่อผ่านตัวแยกภาระ อันเป็น
ผลมาจากไดโอด (Diodes) ที่ใช้อยู่ในตัวมัน เมื่อทำการต่อระบบ
เรียบร้อย ให้ทำการตรวจวัดค่าแรงดันไฟอีกครั้งที่ขั้วทั้งสองของตัวแยก
ภาระ
วิธีการเดินสายไฟแรงดัน
• วีธีการเดินสายไฟแรงดันที่ดีที่สุด สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่างๆ
ดังนี้
เริ่มต้นที่แบตเตอรี่ ขั้วแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดเท่านั้น
อย่าได้ทำการเชื่อมสายไฟเข้าไปที่ขั้วแบตเตอรี่ที่ผุกร่อนหรือเป็นสนิม
เพราะมันจะไม่รับกับสายไฟที่เชื่อมเข้าไปนั้น
งานติดตั้งหลายๆ ชิ้นเป็นเช่นนี้ ซึ่งผลที่ตามมาก็พบว่ามันจะทำให้
ค่าความต้านทานกระแสไฟตรงสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ไม่ได้ค่าแรงดันไฟ
และกระแสมากเท่าที่ควรจะเป็น และเพาเวอร์แอมป์ก็ลดประสิทธิภาพ
ลงไปอย่างมากจากการที่ค่าแรงดันไฟลดลงนี่เอง
การใช้ผงโซดาไฟกับน้ำจะช่วยในการทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่
ได้เป็นอย่างดี โดยทำการโป๊ะขั้วแบตเตอรี่ด้วยน้ำผสมโซดาไฟ (ผสมเข้ม
ข้นเนื้อคล้ายยาสีฟัน) ไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
บรรดาคาบสนิมที่ยังเกาะอยู่ก็ให้ใช้แปรงลวดช่วยขัดออกเสียให้หมด
เมื่อมีการเดินสายไฟผ่านผนังกั้นห้องเครื่อง (Firewall) จะต้องมี
การป้องกันตัวสายไว้โดยการใช้ท่อวงแหวนยางเพื่อป้องกันการลัดวงจรที่
อาจเกิดขึ้น
ในกรณีที่จะต้องมีการเดินสายออกนอกตัวรถ (เช่น เดินสายผ่าน
ใต้ท้องรถ) ก็ควรจะมีการใช้แผ่นตาข่ายปูกันเอาไว้ด้วยจะช่วยให้มีความ
ปลอดภัยมากขึ้น จากนั้นก็ยาขอบทั้งสองด้วยซิลิโคน (Silicone) เพื่อ
ป้องกันน้ำซึมเข้าไป วิธีการนี้บางครั้งนำมาใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวนใน
รถที่มีปัญหาแก้ไม่ตก
การลงกราวน์ระบบ
• รถยนต์รุ่นเก่าส่วนมาก ตัวถังจะมีลักษณะเป็นการนำชิ้นโลหะมา
จัดสร้างเป็นโครงรูป แล้วเชื่อมต่อกันจนเป็นโครงรถ ซึ่งการทำเช่นนี้มี
แนวโน้มลดลงในรถรุ่นใหม่ ทำให้เกิดค่าความต้านทานกระแสไฟตรงเพิ่ม
มากขึ้น ในรถปัจจุบันเมื่อทำการกราวน์ระบบไฟผ่านตัวถังรถ
จากมูลเหตุนี้จึงมักเกิดปัญหาในเรื่องเสียงรบกวนตามมาภายหลัง
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ให้ทำการกราวน์ระบบไฟไปที่ส่วนหน้าโดยยึดติด
กับส่วนที่เป็นโครงรถแทน โดยต้องพยายามยึดติดกับส่วนที่เป็นชิ้น
เดียวกันจากหน้ารถมากที่สุด
การตรวจสอบกำลังไฟ
• ทุกครั้งที่ทำการลงกราวน์ระบบนั้นจะต้องมั่นใจ แน่ใจ เชื่อใจ ว่า
ไม่มีกระแสไหลผ่านเข้าไปในอุปกรณ์ตัวอื่นๆ และหลังจากทำการตรวจ
วัดค่าแรงดันไฟที่ส่วนหน้าและส่วนหลังทั้งสองจุดแล้ว
ที่จุดไฟเข้าของเพาเวอร์แอมป์ให้ตรวจดูว่ามีแรงดันไฟขาดหายไป
หรือไม่ ถ้าหากวัดค่าออกมาได้เป็น 12.5 แทนที่จะเป็น 12.8 ก็ให้
ทำการลดความยาวของสายกราวน์ลงไป 2 ใน 10 ส่วนดูก็ได้
การที่มีค่าแรงดันไฟที่แตกต่างกันไปประมาณ 2 หรือ 3 ใน 10
ส่วนนี้ถือว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ และควรตรวจเช็กระบบสายไฟ/สายกราวน์
อีกครั้ง
ความต้านทานไฟตรงที่จะเพิ่มขึ้นตลอดช่วงก่อนที่จะไปลงกราวน์
ให้ตรวจดูว่าจุดยึดได้ถูกขันไว้แน่นแล้ว และหากว่ายังคงมีค่าแรงดันไฟที่
ผิดไปอยู่เช่นเดิม ปัญหาน่าจะมาจากการใช้สายไฟแรงดันผิดขนาด
การติดตั้งเพาเวอร์แอม์
• ในขั้นตอนของการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ ต้องไม่ลืมต่อฟิวส์เอาไว้
ระหว่างตัวเพาเวอร์แอมป์เพื่อความปลอดภัย
ควรให้มีแรงดันไฟตกที่เพาเวอร์แอมป์ในระดับประมาณ 13.8
หรือ 14.2 ในขณะเครื่องยนต์ติด เพราะจะเป็นการให้แรงดันไฟและ
กระแสที่เพียงพอ เหมาะสมกับการต่อใช้งาน โดยเพาเวอร์แอมป์จะไม่
ร้อนเกินไป ให้เสียงเบสได้ดีขึ้นอย่างมาก ยืดอายุการใช้งาน
บัญญัติ 6 ประการด้านกำลังไฟ
1. เพาเวอร์แอมป์ต้องการ ‘พลังไฟ’ เพื่อที่จะสร้างพลังเสียง
2. การเพิ่มพลังไฟให้กับรถยนต์มักจำเป็นเสมอ
เมื่อมีการติดตั้งระบบเสียงเข้าไปในรถยนต์
3. ต้องมีการใช้ฟิวส์อย่างถูกต้องด้วยทุกครั้งที่มีการเพิ่มพลังไฟ
ให้ระบบ
4. การเพิ่มแบตเตอรี่ลูกที่สอง จะต้องต่อแบบขนานเท่านั้น
5. เมื่อเพิ่มแบตเตอรี่ลูกที่สอง จะต้องเป็นชนิดที่มีเกรดและค่า CCA
เท่ากันทั้งสองลูก
6. สาเหตุใหญ่ที่เพาเวอร์แอมป์ถูกส่งไปซ่อมมากที่สุดก็คือ
การได้รับไฟไม่เพียงพอนั่นเอง
การร่างแผนผังของระบบไฟ
• จริงๆแล้วในขั้นตอนก่อนการลงมือติดตั้งจริงๆ ควรวางแผนการ
เดินสายไฟในกระดาษเปล่าก่อนเพื่อวิเคราะห์หาจุดบกพร่องและต่อเติม
บางอย่างเข้าไปให้สมบูรณ์ ไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระหว่างการ
ติดตั้ง เจอปัญหาหนึงก็แก้ทีหนึ่ง ผลก็คือวุ่นวายไม่รู้จบ
ให้ลองลากเส้นสมมุติออกจากแบตเตอรี่เข้าชุดฟิวส์หรือเบรกเกอร์
ผ่านเข้าทางผนังห้องเครื่อง แยกช่วงสายไฟเข้าวิทยุบริเวณไหน แยกฟิวส์
ย่อยเข้าเพาเวอร์แอมป์บริเวณไหน สายไหนเข้าแอมป์ตัวไหน สายไหน
เข้าครอสโอเวอร์
กำหนดจุดการติดตั้งที่แน่นอน ค่าและชนิดต่างๆ ของฟิวส์ หัวแจ็ค
ฉนวนหุ้มสาย และเรื่องราวทั้งหมดให้เรียบร้อย ก่อนลงมือติดตั้งหรือสั่ง
ให้ลูกน้องทำงาน
ในขั้นตอนการติดตั้งจริง ควรถอดสายไฟกราวน์หรือไฟลบที่
แบตเตอรี่ออกก่อน เพราะบางครั้งเกิดพลาดไปจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจ
เนื่องจากรถรุ่นใหม่มักมีเบาะไฟฟ้า ถุงลมนิรภัย การถอดสับเปลี่ยน
ปลั๊กต่างๆ อาจมีผลกระทบได้
การเดินสายผ่านรูโลหะ หรือช่องเล็กๆ ที่อาจมีแรงกด หรือเฉือน
ปลอกของสายได้ ต้องใส่แหวนยางรองไว้เสมอ
เดินสายไฟบวกแยกห่างจากสายนำสัญญาณ เพื่อกันการเหนี่ยวนำ
เสียงรบกวน และแยกสายลำโพงออกไปต่างหาก ไม่ควรมัดสายบวก,
สายนำสัญญาณ และสายลำโพงเข้าด้วยกัน แต่ควรแยกห่างจากกันเพื่อ
ไม่ให้เกิดเสียงรบกวน การหาจุดกราวน์อาจต้องใช้วิธีจิ้มลองแตะดูในจุด
ต่างๆ เพื่อให้ได้สภาพการกราวน์ที่ดีที่สุด
คำแนะนำในการติดตั้ง CAP
• เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรติดตั้ง Cap:Capacitor ให้ใกล้กับ
เพาเวอร์แอมป์มากที่สุด ตัว Cap นั้นสามารถติดตั้งที่จุดใดก็ได้ แต่ต้อง
ระมัดระวังอย่าให้รูที่อยู่ส่วนบนของ Cap ถูกปิดเป็นอันขาด
การชาร์จไฟสำหรับ CAP
• ในการชาร์จไฟตัว Cap จะต้องใช้ตัวต้านทานที่มีมาให้ชาร์จไฟใน
ครั้งแรกสุด ตัวต้านทานนี้จะช่วยกำจัดกระแสไฟให้ได้ขนาดที่เหมาะสม
กับความต้องการของ Cap และไม่ทำให้เกิดการสปาร์กและ/หรือการ
หลอมละลายของขั้ว
เมื่อทำการต่อกราวน์ตัว Cap เข้ากับตัวถังของรถแล้ว ให้ทำการ
สอดตัวต้านทานระหว่างขั้วบวกกับสายไฟที่ต่อมาจากแบตเตอรี่ เข้ากับ
ขั้วบวกของตัว Cap ชั่วคราว
ทำการชาร์จไฟเข้าสู่ตัว Cap โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที เรา
สามารถตอบสอบการชาร์จไฟได้โดยใช้ VOM เพื่ออ่านค่าของ Cap
เมื่อได้ค่าแรงดันหรือค่าแรงดันไฟได้เท่ากับโวลท์ของแบตเตอรี่รถ ก็
ให้ถอดตัวต้านทานออกและเก็บไว้ใช้ต่อไป ในกรณีที่เป็น Cap แบบมี
หัว...ไม่ต้องทำวิธีการเช่นนี้ได้ เพราะมีระบบป้องกันไว้ให้อยู่แล้ว
คำแนะนำในการเดินสายไฟ
http://www.facebook.com/art789
• ความสามารถและความรวดเร็วในการปลดปล่อยพลังงานของ
Cap นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของความต้านทานระหว่างตัว Cap กับ
เพาเวอร์แอมป์ หากเป็นไปได้ให้พยายามใช้ความยาวของสายไฟให้สั้น
กว่า 12 นิ้ว ใช้เบอร์สายไฟเบอร์เดียวกับที่ต่อเข้าแบตเตอรี่ของคุณ
สายกราวน์ที่ต่อกับ Cap นั้นควรตรวจต่อกราวน์กับจุดของตัวถังที่
ใกล้ที่สุด สายไฟขั้วบวกจะถูกต่อในลักษณะรูปตัว T ไปยังสายไฟจาก
แบตเตอรี่และวิ่งไปยังเพาเวอร์แอมป์ ถ้าใช้ Cap ร่วมกับเพาเวอร์แอมป์
หลายตัว
ควรต่อสายไฟบวกเข้ากับกล่องกระจายสายไฟ ให้ระมัดระวังการ
ต่อขั้วไฟผิด ถ้าต่อสายไฟเข้าขั้วสลับกันตัวของเหลวภายในจะพุ่งออก
ทางช่องที่อยู่ด้านบน